Page 20 - kpiebook67033
P. 20

รายงานผลการประเมินสถานการณ์
          ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย


               บทที่ 1 บทนำ�


          1.1 คว�มเป็ นม�
             หากจะกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ประเทศทั่วโลกใช้กันมากที่สุด คือ การปกครอง
          ในระบอบประชาธิปไตย คำาว่า Democracy หรือ ประชาธิปไตย มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก
          โบราณว่า “Demokratia” ซึ่งประกอบมาจากคำาว่า “Demos” แปลว่า ปวงชน และคำาว่า “Kratos”
          แปลว่า อำานาจ ความเป็นใหญ่ เมื่อรวมกันแล้วจึงเป็น “ปวงชน (ประชา) เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำานาจสูงสุด
          (อธิปไตย)” (เฉลิมเกียรติ ผิวนวล, 2529)  หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยคือการปกครอง
          ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” (Government of the people, by the people,
          for the people) ประชาธิปไตยตามคำาจำากัดความของอริสโตเติลยังหมายถึง สภาวะที่คนเป็นไท
          รวมถึงคนยากจนซึ่งมีจำานวนข้างมากในสังคมได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของอำานาจของรัฐ
          มีประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์เพราะมีความเสมอภาคในสังคมไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหนในสังคม โดยได้
          รับการรับรองจากกฎหมายของรัฐ อีกทั้ง ประชาธิปไตยต้องมีเสรีภาพ และรัฐบาลจะต้องตอบสนอง
          ต่อความต้องการของประชาชน (อมร รักษาสัตย์ และคณะ, 2543)


             อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักของความเป็นประชาธิปไตยที่ทั้งในทิศทางเดียวกันและแตกต่างกัน
          ไปบ้าง นั่นเพราะมีความแตกต่างตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม หรือแม้แต่ในประเทศเดียวกัน
          ก็ยังพบว่ามีความแตกต่างในมุมมองของแนวคิดประชาธิปไตย การมีอุดมการณ์ทางการเมือง
          ที่ต่างกัน หรือมีจุดยืนทางการเมืองที่ต่างกันก็อาจทำาให้การมองความเป็นประชาธิปไตยต่างกัน
          ได้เช่นกัน หากแต่คนในสังคมที่มีการยอมรับความต่างจะเป็นการพัฒนาประชาธิปไตย พัฒนาประเทศ
          ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แต่หากต่างฝ่ายต่างยึดเอาความคิดของตนหรือกลุ่มตนเป็นใหญ่โดยไม่รับฟัง หรือ
          เคารพในสิทธิของผู้อื่นแล้วก็ย่อมสร้างความแตกแยกในสังคมได้เช่นกัน ด้วยเหตุของความแตกต่าง
          เหล่านี้ ทำาให้บางครั้งหากกล่าวถึงคุณลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย บางคนอาจมองว่าเป็น
          เรื่องของการเมือง การปกครอง แต่ในขณะที่บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องของความเสมอภาค
          การมีอิสระทางความคิดและการแสดงออกทางการเมือง ทั้งนี้ จากการสำารวจความคิดเห็นของ
          ประชาชนต่อคุณลักษณะที่สำาคัญของประชาธิปไตยมากที่สุด ภายใต้โครงการอาเซียนบารอมิเตอร์
          (Asian Barometer Survey) ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปี 2565 ซึ่งจากการเปรียบเทียบผลการศึกษา
          ในแต่ละห้วงเวลา พบว่า ในปี 2544 ในภาพรวมของทุกประเทศมองว่า ประชาธิปไตย คือ การที่
          ประชาชนมีอิสระ ทั้งในเรื่องทั่วไป และเรื่องการแสดงออกทางความคิดและคำาพูด อีกทั้งยังมองว่า
          ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความเสมอภาค ความเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และยังคงมี
          ความคิดเช่นนี้เป็นหลักในช่วงปี 2549 แต่ยังได้รวมถึงความเท่าเทียมทางการเมืองเพิ่มมาด้วย
          อย่างไรก็ดี ประชาธิปไตยในช่วงปี  2553  เริ่มมีการกล่าวถึงบรรทัดฐานทางการเมืองและกระบวนการ
          ทางการเมือง รวมถึงหลักธรรมาภิบาลในการปกครอง (Asian Barometer Survey, 2019)

           18
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25