Page 28 - kpiebook67033
P. 28
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
2.1.2 วิธีการเลือกหน่วยตัวอย่าง
หน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง กำาหนดให้ EA เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง โดยในแต่ละ
สตราตัม ได้ทำาการเลือก EA ตัวอย่างอย่างอิสระต่อกัน โดยให้ความน่าจะเป็นในการเลือกเป็น
ปฏิภาคกับจำานวนครัวเรือนของ EA นั้น ๆ
หน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง ในแต่ละ EA ตัวอย่าง ได้ทำาการเลือกครัวเรือนส่วนบุคคล
ที่มีสมาชิกอายุ 18 ไปขึ้นไป ตัวอย่างอย่างอิสระต่อกัน ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ EA ละ
15 ครัวเรือน
หน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม ในแต่ละครัวเรือนส่วนบุคคลที่มีสมาชิกอายุ 18 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างได้ทำาการเลือกสมาชิกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ตัวอย่างสุ่มครัวเรือนละ 1 คน เพื่อทำาการ
สัมภาษณ์ในรายละเอียด
ทั้งนี้ ตามกรอบการศึกษากำาหนดให้สำารวจประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในครัวเรือน
ส่วนบุคคลทั่วประเทศ การสำารวจครั้งนี้ไม่รวมผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนคนงานที่มีคนงานมาอาศัย
อยู่รวมกันในสถานที่ที่นายจ้างจัดหาให้โดยไม่เสียค่าที่พัก รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนสถาบัน
เช่น เรือนจำา ค่ายทหาร โรงแรม วัด หอพักนักเรียนนักศึกษา เป็นต้น
2.2 เครื่องมือที่ใชในก�รเก็บรวบรวมขอมูล
้
้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถามในการสำารวจ ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วย
ข้อคำาถาม จำานวน 5 ตอน โดยตอนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ 2 ความเชื่อมั่นต่อ
การทำางานของหน่วยงานต่าง ๆ ตอนที่ 3 การมีทุนทางสังคม ตอนที่ 4 ความคิดเห็นของประชาชน
เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ด้านสิทธิและเสรีภาพ หลักนิติธรรม และการเข้าถึงความยุติธรรม
และ ตอนที่ 5 ความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน
2.3 วิธีก�รเก็บรวบรวมขอมูล
้
การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดในแบบสอบถามด้วยวิธีการสัมภาษณ์สมาชิกที่มีอายุ
18 ปีขึ้นไปตัวอย่าง กระจายตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 - 15 เมษายน
พ.ศ. 2565
2.4 แนวท�งก�รนำ�เสนอผลก�รศึกษ�
ส่วนที่ 1
เสนอผลการสำารวจในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค ในรูปของค่าร้อยละ (Percentage)
ค่าเฉลี่ย (Mean) และแผนภูมิที่เหมาะสม เพื่อวิเคราะห์หาระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ของประชาชนในแต่ละข้อคำาถามที่ได้ทำาการสัมภาษณ์
ในการกำาหนดคะแนนของการวัดและเกณฑ์ระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจของ
ประชาชนนั้น ได้ใช้ตามแนวทางของลิเคิร์ท (Likert) โดยกำาหนด ดังนี้
26