Page 31 - kpiebook67033
P. 31

สถ�บันพระปกเกล ้ �
                                                             King Prajadhipok’s Institute
           โลกทางตะวันตก ที่มีการเรียกร้องสิทธิจากกลุ่มต่าง ๆ ของสังคมซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลนั้น ๆ
           (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2547) สำาหรับสิทธิที่กล่าวถึงนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิทธิตามธรรมชาติ
           (Natural rights) และ สิทธิที่มีอำานาจอย่างเด็ดขาด (Positivism) โดยสิทธิตามธรรมชาติ คือ สิทธิ
           ที่ได้มาแต่กำาเนิด ไม่มีอำานาจใดมาละเมิดหรือลิดรอนสิทธิได้ ในขณะที่สิทธิที่มีอำานาจอย่างเด็ดขาด
           คือสิทธิที่รัฐหรือประเทศกำาหนดให้ประชาชนตามแต่กฎหมายของประเทศนั้น ๆ กำาหนด รวมถึง
           มีความแตกต่างตามรูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศด้วย (Del Dickson, 2014) และยัง
           หมายรวมถึงการมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมด้วย (Etzioni - Halevy, 1997) สิทธิ
           ในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการตัดสินใจที่จะดำาเนินการใด ๆ ของกลุ่มหรือสังคมหนึ่ง ๆ (Beetham,
           2012) หรือแม้แต่สิทธิในการเข้าถึงการบริการสาธารณะที่เท่าเทียมและทั่วถึงด้วย

                   อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น หรือสามารถรับรู้ข้อมูล
           ข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมนั้นถือเป็นการให้เสรีภาพแก่ประชาชน (Etzioni - Halevy, 1997)
           โดยต้องเป็นการให้เสรีภาพที่พอเพียง (sufficient freedom) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนก็ตาม โดยไม่มี
           การแทรกแซงจากหน่วยงานหรือบุคคลอื่นซึ่งทำาให้ต้องยุติสิ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้วนั้น (Larry Diamond,
           2000) ทั้งนี้ ต้องไม่ฝ่าฝืนกับข้อกำาหนดของกฎหมายและบริบทของสังคมด้วย (สถาบันพระปกเกล้า,
           2562; 2564) ในขณะที่หน้าที่ (duty) คือ ความรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้อง
           กับระเบียบของสังคม เช่น หน้าที่ในการเสียภาษีของพลเมือง เป็นต้น

                  สำาหรับประเทศไทยมีการระบุถึงสิทธิของประชาชนครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่ง
           ราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2475 เช่น มาตรา 12  “...บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายฐานันดรศักดิ์
           โดยกำาเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือประการอื่นใดก็ดีไม่กระทำาให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใดเลย” และมาตรา
           14 “...บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา
           การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ...” โดยในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
           (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560) ได้มีการกำาหนดถึงสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
           ของพลเมืองไว้อย่างชัดเจน ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องสิทธิ และเสรีภาพของปวงชนชาวไทย เช่น ความ
           เสมอภาค สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น และในหมวดที่ 4 ว่าด้วย
           เรื่องหน้าที่ของชนชาวไทย และยังได้เพิ่มการให้สิทธิแก่ประชาชนตามกลไกของหน้าที่ของรัฐด้วย

                  ทั้งนี้ จากการทบทวนวรรณกรรมซึ่งเป็นการศึกษาองค์ความรู้เรื่องตัวชี้วัดประชาธิปไตย
           ในมิติสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ในบริบทของประเทศไทย ได้แบ่งมิติย่อยออกเป็น 5 องค์ประกอบ
           ได้แก่ มิติเรื่อง ประกอบด้วย การเสียสละเพื่อส่วนร่วม การเสียภาษี การมีสิทธิที่เท่าเทียม การยอมรับ
           ฟังความเห็นผู้อื่น การได้รับการคุ้มครองสิทธิ และ การมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล (สถาบัน
           พระปกเกล้า, 2562; 2564) ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของพลเมืองในฐานะปัจเจกชน
           ต้องได้รับการปกป้อง และไม่ว่าอาศัยอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง




                                                                           29
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36