Page 36 - kpiebook67033
P. 36

รายงานผลการประเมินสถานการณ์
          ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
          (Suh, Yee & Chang, 2013) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง
          ของบุคคลนั้น ๆ ด้วย (Hooghe & Marien, 2012) นอกจากความเชื่อมั่นในตัวสถาบันต่าง ๆ แล้ว
          การเชื่อมั่นในเครือข่ายทางสังคมถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกปัจจัยหนึ่ง
          โดยพบว่า ความใกล้ชิดในกลุ่มเพื่อน การสนทนาการเมืองร่วมกัน รวมถึงการผ่านช่วงเวลาที่
          ยากลำาบากมาด้วยกันจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติทางการเมืองและพฤติกรรมของแต่ละ
          บุคคลด้วย (Lazer, Rubineau & Neblo, 2009)

                 ส่วนประเด็นเรื่องการทุจริตในทางการเมืองก็ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
          โดยหากประชาชนเห็นว่ามีการทุจริตในทางการเมืองจะนำามาซึ่งการลดระดับการมีส่วนร่วม
          ทางการเมืองของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการทำางานจิตอาสาของพรรคการเมือง การแสดง
          สัญลักษณ์ทางการเมือง และการบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นต้น (Richardson,
          2012)
                 เมื่อพิจารณาลักษณะทางประชากรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า ผู้ชาย
          มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าผู้หญิง (Výrost & Bozogánová, 2019) ทั้งนี้
                                                                v
          เมื่อเปรียบเทียบกับจำานวนของผู้หญิงที่ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง พบว่า ในปี 2564 มีสมาชิก
          รัฐสภาที่เป็นผู้หญิงประมาณร้อยละ 25 ในระดับโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้หญิง
          ในรัฐสภาเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น (UN Women, 2022) ส่วนปัจจัยด้านการศึกษา พบว่า ระดับ
          การศึกษาเป็นปัจจัยที่เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรับรู้
          การติดตามข่าวสารและทักษะในการสื่อสารทางการเมืองของประชาชนด้วย (Výrost & Bozogánová,
                                                                          v
          2019) โดยเฉพาะเมื่อศึกษาเฉพาะผู้หญิง พบว่า หากเป็นผู้ที่โอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาที่มี
          คุณภาพอย่างผู้ที่อาศัยในเขตเมือง จะมีแนวโน้มมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าผู้ที่อาศัยในเขต
          ชนบท (Dim & Asomah, 2019) ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ พบว่า มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม
          ทางการเมืองด้วยเช่นกัน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าผู้ที่
          มีอายุน้อยกว่า (Bourne, Pryce, Davis, Francis & Coleman, 2017)

          3.2 กรอบแนวคิดในก�รศึกษ�
                 ในส่วนของการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีระดับความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น
          ซึ่งได้มีการทบทวนวรรณกรรม รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้ออกแบบตัวแปรที่เกี่ยวข้องดังนี้


                    ปัจจัยทางด้านประชากร              ระดับความเป็น

                       ภูมิภาค                         ประชาธิปไตย


           ภาพ 3.2 แสดงกรอบการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับระดับความเป็นประชาธิปไตย




           34
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41