Page 11 - kpiebook67026
P. 11

10     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์







                           บทสรุปผู้บริหาร















                   ประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนดได้มีการออกกฎหมายและ
            บังคับใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพในปี ค.ศ. 2012 2015 และ 2019 ตามล�าดับ

            โดยที่ประเทศไทยเองก็มีการขับเคลื่อนร่างกฎหมายดังกล่าวจากหลายภาคส่วน อาทิ
            พรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง

            ของมนุษย ในขณะที่บรรยากาศทางสังคมยังคงขาดความรู้ความเข้าใจ หรือความชัดเจน
            ในจุดยืนที่จะสนับสนุนให้มีกฎหมายรับรองเพศสภาพในสังคมไทย ดังนั้น การศึกษา

            ผลกระทบในมิติกฎหมาย การด�าเนินงานรัฐและเอกชน สิทธิ สังคม วัฒนธรรม
            และคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายรับรองเพศสภาพ

            ในประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด จึงจ�าเป็นยิ่งเพื่อสามารถน�ามาประยุกต
            หรือเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนกฎหมายรับรองเพศสภาพในสังคมไทย


                   การวิจัยนี้ศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ชั้นปฐมภูมิ
            (Primary data) จากตัวบทกฎหมาย และเอกสารที่เป็นข้อมูลชั้นทุติยภูมิ (Secondary

            data) ซึ่งค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ย้อนหลัง 10 ปี (ปี ค.ศ. 2012 - 2022)
            ท�าการรวบรวมเอกสารดังกล่าวในรูปแบบของไฟลอิเล็กทรอนิกส แปลภาษา แล้วท�า

            การจัดหมวดหมู่ คัดสรรเนื้อหาที่เกี่ยวข้องตรงตามวัตถุประสงค ท�าการวิเคราะห
            ด้วยการจัดหัวข้อย่อย หัวข้อหลัก และบริบท


                   ผลการบังคับใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพในประเทศกรณีศึกษา พบว่า
            มีข้อควรพิจารณาในหลายประเด็นที่สามารถเป็นบทเรียนต่อการขับเคลื่อนกฎหมาย

            ดังกล่าวในประเทศไทย ได้แก่ ข้อพิจารณาด้านผลกระทบมิติกฎหมาย เช่น การรับรอง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16