Page 13 - kpiebook67026
P. 13

12     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์





            หลักเกณฑเรื่องอายุของบุคคลที่จะสามารถใช้สิทธิในการก�าหนดอัตลักษณทาง

            เพศสภาพของตนเองได้ กระบวนการยื่น และหลักเกณฑพิจารณาค�าขอซึ่งอาจมี
            ความแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของบุคคล ประเด็นเรื่องผลในทางกฎหมาย

            ของการรับรองเพศสภาพ ต้องมีการบัญญัติเกี่ยวกับผลในทางกฎหมายของการรับรอง
            เพศสภาพโดยจะต้องครอบคลุมถึงเรื่องผลของการระบุเพศสภาพในเอกสารทางราชการ

            ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงตัวตนของบุคคลนั้น โดยใช้
            ค�าว่า เพศชาย (male) หรือเพศหญิง (female) หรือ เพศกลาง/เพศอื่น ๆ (other) ได้

            ทั้งนี้โดยใช้ M เพื่อสื่อถึงการเป็นเพศชาย (Masculine) ใช้ F เพื่อสื่อถึงการเป็น
            เพศหญิง (Feminine) และใช้ X เพื่อสื่อถึงการเป็นเพศกลางหรือเพศอื่น ๆ เช่น

            การเป็นบุคคลนอนไบนารี่ ประเด็นเรื่องการป้องกันการเลือกปฏิบัติ และการส่งเสริม
            ความเสมอภาคต้องมีการก�าหนดมาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติ และการส่งเสริม

            ความเสมอภาค ในขณะที่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน
            กฎหมายรับรองเพศสภาพ มีประเด็นดังต่อไปนี้ คือประเด็นการขับเคลื่อนเชิงแนวคิด

            จ�าเป็นต้องตกผลึกและก�าหนดเป้าหมาย กระบวนการ และผลลัพธจากการขับเคลื่อน
            กฎหมายฉบับนี้ให้ชัดเจน คือ หลักการของกฎหมายที่ก�าลังสร้างแนวคิดใหม่ให้กับสังคม

            ในการให้ความส�าคัญกับการแสดงเจตจ�านงคในการนิยามตนเองมากกว่าค�าวินิจฉัย
            ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการต่าง ๆ ทางการแพทย หรือผู้มีอ�านาจตามกฎหมาย

            ซึ่งจะส่งผลต่อการสื่อสารและรับรู้ของคนทั่วไปในสังคม และอาจส่งผลต่อเนื่อง
            ไปยังกฎหมาย นโยบายอื่น ๆ ของสังคมที่ต้องให้ความส�าคัญกับการแสดงเจตจ�านง

            ในการนิยามตนเอง เช่น กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายแก้ไขกฎหมายการปราบปราม
            การค้าประเวณี กฎหมายการุณยฆาต เป็นต้น ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงผลของ

            กฎหมายนี้ได้เมื่อต้องการ กฎหมายจะน�าไปสู่สุขภาวะ คุณภาพชีวิต และระบบ
            สวัสดิการที่เท่าเทียมเป็นธรรมกับทุกคนในสังคมไทย ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจ

            และลดความไม่เห็นด้วยจากกลุ่มต่าง ๆ ได้ ประเด็นการน�ากฎหมายไปปฏิบัติ ภาครัฐ
            และภาคเอกชนจ�าเป็นต้องมีนโยบายที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมในการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง

            หรือสร้างสรรคระบบบริการ ระบบสวัสดิการให้สอดคล้องไปกับสาระส�าคัญของกฎหมาย
            ซึ่งจ�าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อการทบทวน ประเมินผลการด�าเนินการ

            ตามกฎหมาย เพื่อใช้ในการปรับปรุงกฎหมายในอนาคต และประเด็นการศึกษาวิจัย
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18