Page 12 - kpiebook67026
P. 12
11
เพศสภาพกรณีผู้เยาว การรับรองเพศสภาพของกลุ่มนอนไบนารี่ การรับรองเพศสภาพ
กรณีผู้ลี้ภัย/ผู้อพยพ ข้อพิจารณาด้านการด�าเนินงานของภาครัฐและเอกชน เช่น
การรับรองอัตลักษณทางเพศของบุคคล ซึ่งเป็นพลเมืองหรือมีสัญชาติของประเทศ
นั้น ๆ การรับรองอัตลักษณทางเพศของบุคคลซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ข้อพิจารณาด้าน
สิทธิประโยชน และข้อยกเว้นหรือข้อจ�ากัดสิทธิ เช่น ข้อจ�ากัดเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิ
ในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง ข้อจ�ากัดด้านเวลาในการใช้สิทธิ กระบวนการพิจารณา
ส�าหรับการยื่นค�าร้องในครั้งที่สอง และผลที่เกิดขึ้น
ผลด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่า การขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยอัตลักษณ
ทางเพศสภาพ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งในมิติของแนวคิดของสังคม
โดยรวมที่มีการให้ความส�าคัญกับประโยชนสาธารณะ หรือสังคมโดยรวมมากขึ้นกว่า
ประโยชนของกลุ่ม อาทิ การศึกษาและการท�างาน ความปลอดภัยและสิทธิพลเมือง
ระบบบริการสุขภาพ ระดับความเข้าใจในขณะเดียวกันก็มีข้อกังวลที่เกิดขึ้น คือ
การบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันในแต่ละเมือง และแต่ละภูมิภาค การถูกภาพเหมารวม
และมอบหมายบทบาทหน้าที่ให้กับผู้หญิงที่แตกต่าง และไม่เท่าเทียมกับผู้ชายหรือ
เพศอื่น ๆ ส่งผลให้การรับรองที่เกิดขึ้นอาจไปยัดเยียดหรือบรรจุความไม่เท่าเทียมนั้น
แม้ในระดับประเทศจะมีกฎหมายที่รับรองเพศสภาพแต่ในระดับภูมิภาค พบว่า
ในบางประเทศยังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และเป็นมาตรฐานเดียวกันในการให้
การยอมรับรับรองเพศสภาพอย่างแท้จริง
ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะ คือ ประเด็นเรื่องวัตถุประสงคและขอบเขต
การบังคับใช้กฎหมายต้องมีการระบุวัตถุประสงค และขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย
ให้มีความชัดเจน กลุ่มบุคคลที่จะอยู่ในบังคับของกฎหมายจะครอบคลุมถึงบุคคล
ที่มีอัตลักษณทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพ และคุณลักษณะทางเพศ
ประเด็นเรื่องหลักการ และเงื่อนไขในการรับรองเพศสภาพ จะต้องมีการบัญญัติรับรอง
สิทธิในอัตลักษณทางเพศสภาพ (right to gender identity) ของบุคคลซึ่งครอบคลุม
สิทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นเรื่องหลักเกณฑและกระบวนการรับรองเพศสภาพ
ต้องมีการบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ และกระบวนการรับรองเพศสภาพ นั่นคือ