Page 7 - kpiebook67026
P. 7

6    ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์









                                   บทคัดย่อ















                   ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนร่างกฎหมายรับรองเพศสภาพ ดังนั้นการศึกษา
            ผลกระทบในมิติกฎหมาย การด�าเนินงานรัฐและเอกชน สิทธิ สังคม วัฒนธรรมและ
            คุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายรับรองเพศสภาพในประเทศ

            ประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด จึงจ�าเป็นยิ่งเพื่อสามารถน�ามาประประยุกต

            หรือเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนกฎหมายรับรองเพศสภาพในสังคมไทย
            การวิจัยนี้ศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ชั้นปฐมภูมิ
            (Primary data) จากตัวบทกฎหมาย และเอกสารที่เป็นข้อมูลชั้นทุติยภูมิ (Secondary

            data) ซึ่งค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ย้อนหลัง 10 ปี (2555-2565) ท�าการรวบรวม

            เอกสารดังกล่าวในรูปแบบของไฟลอิเล็กทรอนิกส แปลภาษา แล้วท�าการจัดหมวดหมู่
            คัดสรรเนื้อหาที่เกี่ยวข้องตรงตามวัตถุประสงค ท�าการวิเคราะหด้วยการจัดหัวข้อย่อย
            หัวข้อหลัก และบริบท


                   ผลการศึกษา พบว่า มีข้อควรพิจารณาในหลายประเด็นที่สามารถเป็นบทเรียน
            ต่อการขับเคลื่อนกฎหมายดังกล่าวในประเทศไทย ได้แก่ ข้อพิจารณาด้านผลกระทบ

            มิติกฎหมาย เช่น การรับรองเพศสภาพกรณีผู้เยาว การรับรองเพศสภาพของกลุ่ม

            นอนไบนารี่ การรับรองเพศสภาพกรณีผู้ลี้ภัย/ผู้อพยพ ข้อพิจารณาด้านการด�าเนินงาน
            ของภาครัฐและเอกชน เช่น การรับรองอัตลักษณทางเพศของบุคคลซึ่งเป็นพลเมือง
            หรือมีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ การรับรองอัตลักษณทางเพศของบุคคลซึ่งเป็น

            ชาวต่างชาติ ข้อพิจารณาด้านสิทธิประโยชนและข้อยกเว้นหรือข้อจ�ากัดสิทธิ เช่น
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12