Page 6 - kpiebook67026
P. 6
5
ค�าน�าผู้เขียน
รายงานการวิจัยฉบับนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทยก�าลังมีการขับเคลื่อนทางสังคม
และขับเคลื่อนเชิงนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางเพศให้เกิดขึ้น
ในสังคม หนึ่งในกฎหมายนั้นคือ กฎหมายรับรองเพศสภาพ ทั้งในส่วนของภาคประชาชน
ภาครัฐในส่วนของกระทรวง และพรรคการเมือง
ดังนั้น การศึกษาผลจากการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพในประเทศที่มี
การบังคับใช้มากกว่า 5 ปี ได้แก่ ประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด
จึงมีนัยส�าคัญและส�าคัญอย่างยิ่งที่สามารถน�ามาประยุกตหรือเตรียมความพร้อม
ในการขับเคลื่อนกฎหมายรับรองเพศสภาพในสังคมไทยได้
การด�าเนินการศึกษาและเผยแพร่ผลจากการศึกษานี้ส�าเร็จลงได้จากการสนับสนุน
ร่วมมืออย่างดียิ่งจากสถาบันพระปกเกล้า โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
ประเทศไทย สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย คณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทย
เพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) และสมาคมสตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย ทางทีมด�าเนิน
การศึกษาจึงใคร่ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
คุณประโยชนและคุณค่าใดที่เกิดขึ้นจากผลการศึกษาครั้งนี้ ขอให้ถึงแก่พี่น้อง
เพื่อน ๆ และภาคีที่ด�าเนินงานเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศทุก ๆ คน
ทีมวิจัย