Page 73 - kpiebook67020
P. 73
72 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
หลีกเลี่ยงได้ หากพิจารณาข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งต่อในสังคมช่วงที่มีการแพร่ระบาด
ของ COVID-19 ในประเทศไทย พบว่า
(1) ข้อมูลที่เป็นเท็จ (Misinformation) ที่ถูกส่งต่อกันอย่างแพร่หลายโดย
คนเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงและไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลที่ผิด เช่น วัคซีนมีส่วนผสม
ของเนื้อสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนา, ข่าวจากโรงพยาบาลทั่วประเทศว่าไม่มีขี้เหล้า
ติดเชื้อโควิด คนกินเหล้าขาวไม่มีใครป่วยโควิด เป็นต้น ผู้ผลิตเนื้อหาจงใจให้ผู้รับสาร
เกิดความเข้าใจผิด (Misleading) แต่ผู้ที่ส่งต่อเนื้อหาข่าวดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีเจตนา
ร้ายที่จะท�าให้เกิดอันตรายแก่ผู้รับสาร
(2) ข้อมูลที่บิดเบือน (Disinformation) มีจุดมุ่งหมายส�าคัญคือการจงใจ
สร้างอันตรายให้เกิดขึ้นกับบุคคล หรือกลุ่มคน หรือองค์กร อาจจะมีการอ้างอิงที่มา
อย่างผิด ๆ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ถูกปลอมแปลงขึ้นมาโดยอ้างถึงที่มาที่ไม่เป็นความจริง
(Impostor content) เช่น นักวิทยาศาตร์นิวเคลียร์ฟิสิกส์ระดับโลก Dr.Keshe
ได้เผยแพร่วิธีการท�าน�้าพลาสมา ใช้ดื่ม-อาบ สามารถขจัดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ผล
100%, ไปรษณีย์เตือน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 จากจดหมายหรือพัสดุ เป็นต้น อีกทั้งยังมี
การตัดต่อ ปลอมแปลงหรือตัดแปะ เพื่อสร้างเรื่องขึ้นมา (Manipulated content)
(3) ข้อมูลที่ล้าสมัย (Outdated information) ที่กลายเป็นข้อมูลเท็จที่ถูก
ส่งต่อกันอย่างกว้างขวาง แม้ว่าเป็นข้อมูลที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นความจริงและ
ถูกต้อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่สถานการณ์ปัจจุบัน การเผยแพร่ข้อมูล
ที่ล้าสมัยจึงกลายเป็นข้อมูลเท็จไปโดยปริยายและสร้างความเข้าใจผิดในสังคมได้ เช่น
การส่งต่อภาพและข้อความเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2563 ที่ระบุว่า ประกาศปิดเมือง
ทางภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ล�าปาง ล�าพูน อุทัยธานี