Page 68 - kpiebook67020
P. 68
67
ที่อยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 คนออกมายืนยันว่า เรื่องดังกล่าว
ไม่เป็นความจริง ข่าวปลอมอีกข่าวหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงกันเป็นวงกว้างในสื่อสังคม
ออนไลน์ คือ คลิปวิดีโอรถพยาบาลที่ถูกสกัดกั้นโดยเจ้าหน้าที่ต�ารวจไม่ให้ผ่านพื้นที่
และมีการส่งต่อข้อความกันว่าคนที่อยู่ในรถพยาบาลนั้นเป็นแม่ลูก และเสียชีวิตแล้ว
ซึ่งได้ท�าให้เกิดกระแสและพูดถึงกันอย่างมาก เมื่อปรากฏข่าวถูกส่งต่อในโลกออนไลน์
จนเป็นกระแสในวงกว้าง
จากกรณีการแพร่กระจายของข่าวปลอมในเหตุการณ์การสลายการชุมนุม
ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 สถานการณ์การชุมนุมจะเกิดข้อมูลบิดเบือน และ
ข้อมูลผิดพลาดมักเกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์ก�าลังชุลมุน และผู้คนต้องการข้อมูล
ข่าวสาร แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากช่องทางระหว่างบุคคล สื่อมวลชนไม่สามารถ
รายงานสถานการณ์ได้ จึงรายงานเพียงบางส่วน หรือไม่ได้รายงานเลย เนื่องจากปัญหา
ทางเทคนิค ก�าลังคนในพื้นที่ หรือนโยบายองค์กร เช่น ระหว่างผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวน
อาจเกิดการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ หรือช่วงที่มีการสลายการชุมนุม อย่างเช่นเหตุการณ์
ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 มีการแชร์ในทวิตเตอร์ว่ามีการใช้กระสุนยางยิงประชาชน
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งไม่มีหน่วยงานทางการออกมาให้ข้อมูลว่าจริงหรือเท็จ
ต่อมาตัวแทนผู้ชุมนุมจึงพยายามสื่อสารผ่านช่องทางทั้งทางส่วนตัว และสื่อมวลชนว่า
ไม่พบการยิงกระสุนยาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังเป็นพื้นที่ปลอดภัย อีกทั้งอาจมี
การสร้างข้อมูลบิดเบือน เพราะคาดเดาได้ว่าจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างมาก
ทั้งจากกลุ่มที่มีความเห็นเหมือนกัน และความเห็นต่างกัน ตามมาด้วยการสร้าง
เนื้อหา ส่งต่อ และแสดงความคิดเห็นด้วยข้อมูลบิดเบือนทั้งแบบข้อความ โดยใช้ภาพ
เหตุการณ์จริง แต่มีข้อความที่เป็นเท็จ หรือจับแพะชนแกะ โดยใช้ภาพเหตุการณ์จริง
กับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เพื่อท�าให้เกิดความเข้าใจผิด