Page 71 - kpiebook67020
P. 71

70  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        อันเป็นเท็จ” ได้กลายเป็นช่องให้รัฐสามารถตีความและผูกขาดความถูกต้องได้ว่า

        อะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความเท็จ ประกอบกับวิธีคิดของผู้ก�าหนดนโยบาย
        ในประเทศไทยที่มองว่าข่าวปลอมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง ยิ่งท�าให้รัฐสามารถ
        ผูกขาดในการใช้อ�านาจเพื่อ “รักษาความมั่นคง” ได้ในกรณีที่เห็นว่าจ�าเป็น




               ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสื่อสารในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมือง
        ที่น�าไปสู่วิกฤติในสังคม


                ข่าวปลอมเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหาย ความแตกแยกและความขัดแย้ง
        ขึ้นในสังคมได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง แต่การไม่มีนิยาม

        ที่ชัดเจนทางกฎหมายของ “ข่าวปลอม” และการให้อ�านาจรัฐในการตีความว่าอะไร

        คือ “ข้อมูลที่เป็นจริง” อะไรคือ “ข้อมูลที่เป็นเท็จ” และการมองว่าประเด็นนี้เป็นเรื่อง
        ความมั่นคง จึงเป็นความจ�าเป็นที่ต้องให้อ�านาจรัฐในการจัดการเรื่องข่าวปลอม
        อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและ

        มีการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและแพร่กระจาย

        ในวงกว้าง จะยิ่งกลายเป็นการให้ความชอบธรรม (justification) แก่รัฐในการออก
        กฎเกณฑ์รวมถึงบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น “ในนามของความมั่นคง”
        ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจจะท�าให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถดถอยลง และพื้นที่

        ในการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีจะค่อย ๆ ลดลง และถูกแทนที่ด้วยพื้นที่การรักษา

        “ความมั่นคง”

               ข้อเสนอแนะ


               การออกกฎหมายก�ากับควบคุมข่าวปลอมนั้นเป็นหนึ่งในวิธีการจัดการข่าว
        ปลอมเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลากหลายวิธีการ ได้แก่ การให้การศึกษาด้านการรู้เท่าทันสื่อ
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76