Page 66 - kpiebook67020
P. 66

65



           4. กรณีศึกษาการสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม


                  การสื่อสารได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาในสังคมและอาจน�าไปสู่วิกฤตทาง

           สังคมได้ เช่น ความขัดแย้งในสังคม การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจนจนไม่อาจ
           พูดคุยกันอย่างปรองดองได้ การรับข้อมูลข่าวสารที่ยากเกินกว่าจะบอกได้ว่าอะไร

           คือข้อมูลที่ควรเชื่อถือหรือไม่ควรเชื่อถือ เพื่อให้สามารถด�ารงชีวิตได้อย่างปลอดภัย
           และเหมาะสมกับสถานการณ์ ประกอบด้วย 2 กรณีศึกษาที่ส�าคัญ ได้แก่


                  •  กรณีศึกษาการสื่อสารในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเลือกศึกษา
                      เหตุการณ์การสลายการชุมนุมม็อบการเมืองคนรุ่นใหม่ในวันที่ 16 ตุลาคม

                      พ.ศ. 2563 ที่มีการแพร่กระจายข่าวปลอมในสื่อสังคมออนไลน์ในวงกว้าง

                  •  กรณีศึกษาการสื่อสารในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                      (COVID-19) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหาแพร่กระจาย
                      ในสังคมจ�านวนมากเช่นกัน



           4.1 การสื่อสารในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมือง


                  ข่าวปลอมก�าลังกลายเป็นปัญหาส�าคัญทั้งในทางการเมืองและสังคมในหลาย
           ประเทศ วิธีการจัดการจัดการข่าวปลอมในโลกนี้มีวิธีที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

           ดังเช่นกรณีข่าวปลอมในความขัดแย้งทางการเมืองของไทย



                  ข่าวลือในการชุมนุมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ วันที่ 16 ตุลาคม
           พ.ศ. 2563
                  หนึ่งในเหตุการณ์ส�าคัญครั้งหนึ่งในการเคลื่อนไหวของม็อบในปี พ.ศ. 2563

           คือ เหตุการณ์การชุมนุมในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ซึ่ง “คณะราษฎร 2563”
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71