Page 62 - kpiebook67020
P. 62

61




           และด�าเนินการตามบทบาทหน้าที่ และขณะเดียวกันก็ได้มีความพยายามในการสร้าง

           กลไกหาทางออกร่วมกันอย่างคณะกรรมการด้วย อย่างไรก็ดี แต่ละกรณีต่างมีรายละเอียด
           ที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน


                  (1) การร้องเรียนและฟ้องร้องจากฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ กรณีปากมูล ประชาชน
           มีการเรียกร้องตั้งแต่ก่อนก่อสร้าง ระหว่างก่อสร้าง และหลังการก่อสร้างไปแล้ว

           ส่วนกรณีบางกลอย ประชาชนก็มีการยื่นค�าร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ได้กลับไปอยู่
           ยังพื้นที่อาศัยเดิมของตนเช่นกัน


                  (2) การแก้ไขปัญหาตามลักษณะของปัญหา เมื่อมีการร้องเรียนหรือฟ้องร้อง
           จากผู้ได้รับผลกระทบ จากทั้งสองกรณีเห็นได้ว่าหน่วยงานรัฐที่รับเรื่องร้องเรียนมีการ

           ด�าเนินงานต่อตามหน้าที่ แต่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเห็นว่าการแก้ไขยังไม่สามารถ
           จัดการที่ต้นเหตุของปัญหาได้เพราะขาดความต่อเนื่อง และการตอบสนองยังไม่จริงจัง

           เพียงพอ

                  (3) ความพยายามหาทางออกร่วมกัน หน่วยงานรัฐมีการตอบสนองต่อ

           การร้องเรียนของประชาชนแล้ว ยังปรากฏว่าแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีความร่วมมือ
           ที่จะจัดการปัญหา เห็นได้ชัดเจนในรูปแบบการตั้งคณะกรรมการร่วมจากตัวแทน

           หลายฝ่ายในกรณีเขื่อนปากมูลและชาวบ้านบางกลอย ยกตัวอย่างกรณีเขื่อนปากมูล
           มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหลายชุดเพื่อติดตามแก้ไขปัญหา และชาวบ้านใช้วิธีการ

           เรียกร้อง


                  ความเสี่ยงหรือเงื่อนไขที่จะท�าให้เกิดวิกฤตสังคม


                  (1) การท�าให้เกิดความรู้สึกไม่มีทางออก เป็นทั้งการเพิกเฉยต่อปัญหา
           ที่ผู้ได้รับผลกระทบเรียกร้องและความกดดันจากหน่วยงานรัฐต่อผู้ได้รับผลกระทบ
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67