Page 59 - kpiebook67020
P. 59

58  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




               สาเหตุของปัญหา


               (1) รัฐมีบทบาทหลักเป็นผู้ก�าหนดนโยบาย เพราะภาครัฐได้ก�าหนดนโยบาย
        ออกมาซึ่งส่งผลต่อประชาชนบางส่วนในพื้นที่นั้น รัฐยังมีมุมมองเป็นผู้พัฒนาหลัก

        ความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมไม่มีมาตั้งแต่มีรัฐ เพราะรัฐต้องการสะสมทรัพยากรเข้ามา
        ที่ส่วนกลาง โดยใช้ก�าลังหรืออ�านาจของรัฐ


               (2) การปฏิบัติกับกลุ่มคนในสังคมอย่างไม่เท่าเทียมกัน มีการเลือกปฏิบัติกับ
        คนบางกลุ่ม ปรากฏชัดเจนจากกรณีชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย เพราะการไม่ยอมรับ

        ตัวตนของเขา กรณีชาวบ้านบางกลอยจึงเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของการเลือกปฏิบัติ
        ในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมในเรื่องของที่ดินท�ากิน


               (3) กระบวนการมีส่วนร่วมที่ไร้ความหมาย มีความท้าทายต่อกระบวนการ
        รับฟังความคิดเห็นเพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างอีไอเอ เนื่องจาก

        อีไอเอเป็นเครื่องมือที่ส�าคัญในการชี้ขาดว่าโครงการพัฒนาใดจะได้รับอนุมัติ
        ให้ก่อสร้างหรือไม่อย่างไร ยกตัวอย่างกรณีเขื่อนปากมูลช่วงระหว่างก่อสร้างเขื่อน

        ผู้รับผิดชอบด�าเนินการก่อสร้างเขื่อนซึ่งต้องมีการระเบิดแก่งท้ายเขื่อน โดยยังไม่
        ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แล้วเสร็จก่อน แม้มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย

        ให้ความเห็นถึงผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม หรือสุขภาพ
        ของประชาชน แต่ก็ไม่สามารถหยุดการระเบิดได้ และ กฟผ.ก็ยังไม่เปิดเผยข้อมูล

        ด้านผลกระทบที่แท้จริง

               (4) การพัฒนาและการบริหารจัดการภาครัฐที่ขาดมิติความหลากหลาย จะเห็น

        ได้จากกรณีของชาวบ้านบางกลอย เพราะการขาดความเข้าใจวิถีดั้งเดิมของชาวบ้าน
        ที่ผูกพันกับป่าและความเหลื่อมล�้าทางการศึกษา เป็นผลท�าให้ชาวกะเหรี่ยงประกอบ

        อาชีพได้อย่างจ�ากัดและมีทางเลือกในอาชีพไม่มากนัก เมื่อถูกผลักดันออกจากพื้นที่ป่า
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64