Page 63 - kpiebook67020
P. 63

62  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        กรณีปากมูลเห็นได้ชัดว่าเป็นความเสี่ยงจากการที่รัฐเพิกเฉยต่อปัญหาหรือไม่สามารถ
        จัดการปัญหาได้ อาจท�าให้ผู้ได้รับผลกระทบหาทางออกด้วยการใช้ความรุนแรง

        การท�าให้เกิดความรู้สึกว่าไม่มีทางออกด้วยการกดดันก็สามารถน�าไปสู่วิกฤติเช่นกัน
        ดังกรณีของชาวบ้านบางกลอย

               (2) นโยบายและการบังคับใช้กฎหมายที่มีความแข็งตัว มีลักษณะบังคับใช้

        กับคนบางกลุ่ม โดยนโยบายและกฎหมายที่ออกมาใหม่ยังมีแนวโน้มที่จะกดดัน
        คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยในสังคมออกจากพื้นที่ของนโยบายและการมีส่วนร่วมใน

        ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ กฎหมายฉบับใหม่มีแนวโน้ม
        ควบคุมอ�านาจจากส่วนกลางมากขึ้น

               (3) กลไกความยุติธรรมที่อยุติธรรม จะเห็นได้จากกลไกในการด�าเนินงาน

        ของภาครัฐที่ส�าคัญอย่างกระบวนการมีส่วนร่วม และกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน

        และฟ้องร้อง ซึ่งทั้งสองกระบวนการนี้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันด้วย โดยกระบวนการ
        มีส่วนร่วมที่ส�าคัญอย่างการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอ ที่ถือเป็นต้นทาง
        ของการเกิดปัญหายังคงไม่ท�าให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทั้งในเชิงเนื้อหา

        และกระบวนการ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วกระบวนรับเรื่องร้องเรียนและฟ้องร้อง

        ที่เป็นปลายทางของปัญหาก็ยังไม่เอื้อให้เกิดความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน

               สรุปและข้อเสนอแนะ


               จากกรณีศึกษาเขื่อนปากมูลและชาวบ้านบางกลอย เห็นได้ว่ามีสาเหตุร่วม
        ของปัญหาคือการที่รัฐมีบทบาทหลักเป็นผู้ก�าหนดนโยบาย การปฏิบัติต่อคนในสังคม

        แต่ละกลุ่มอย่างไม่เท่าเทียมกัน การมีกระบวนการส่วนร่วมแต่ไร้ความหมาย การพัฒนา
        ที่ขาดความหลากหลาย การพัฒนาที่เป็นแบบเชิงรับ ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนา

        ที่ขาดความสมดุลด้านความยั่งยืน สาเหตุเหล่านี้ท�าให้เกิดผลกระทบทางบวกเพียง
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68