Page 65 - kpiebook67020
P. 65

64  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




                (3) เปิดเผยชุดข้อมูลที่เป็นความจริงสู่สาธารณะอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา

        ช่วยลดความเสี่ยงในการไปสู่วิกฤตในเรื่องการท�าให้รู้สึกไม่มีทางออก เพราะข่าวสาร
        เกี่ยวกับกรณีได้ถูกแพร่ออกไปให้สังคมโดยรวมได้รับรู้มากขึ้นจากแหล่งข้อมูล
        ที่หลากหลายและเป็นกลาง


                (4) รื้อปรับระบบการมีส่วนร่วมและระบบยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม จ�าเป็น

        ต้องมีการทบทวนแก้ไขในสองระบบที่ส�าคัญได้แก่ ระบบอีไอเอกับระบบกระบวนการ
        ยุติธรรม เพราะระบบอีไอเอถือเป็นการสร้างความยุติธรรมตั้งแต่ต้นน�้าก่อนที่จะมี

        การด�าเนินนโยบายหรือโครงการใด ๆ ยุติธรรม และระบบกระบวนการยุติธรรม
        แม้เป็นปลายทางของการแก้ไขปัญหา แต่กระบวนการยุติธรรมทั้งการรับเรื่องร้องเรียน

        โดยหน่วยงานฝ่ายบริหารทั่วไปหรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอย่างศาลปกครองถือว่า
        มีความส�าคัญไม่น้อยไปกว่ากระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน�้า เพราะกระบวนการ

        ปลายทางนี้สามารถย้อนกลับไปเป็นปัจจัยน�าเข้าของความยุติธรรมต้นทางได้

                (5) ยกระดับความเข้มแข็งด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะหาก

        ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งก็จะสามารถแสดงออกซึ่งสิทธิและมีส่วนร่วมโดยภาครัฐ
        ให้การยอมรับ กลไกหนึ่งที่ส�าคัญคือการรวมตัวของประชาชน และการกระจายอ�านาจ

        การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ดังนั้น ความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นได้ต้องสถาปนา

        สิทธิชุมชน ให้ภาครัฐมีอ�านาจน้อยลงแล้วให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อาจต้อง
        สร้างกลไกให้อ�านาจของชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องสิ่งแวดล้อม
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70