Page 69 - kpiebook67020
P. 69
68 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
กรณีเหตุการณ์การสลายการชุมนุมในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นหนึ่ง
ตัวอย่างในอีกหลาย ๆ เหตุการณ์ในห้วงเวลาของความขัดแย้งทางการเมือง ที่จะเห็นได้ว่า
ข่าวปลอมมีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และยิ่งท�าให้
ความขัดแย้งลุกลามไปเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็อาจน�าไปสู่วิกฤตทางสังคมได้เช่นเดียวกัน
สาเหตุที่ท�าให้การสื่อสารในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่น�าไปสู่
วิกฤติในสังคม
ในกรณีศึกษาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย การวิเคราะห์ว่าข่าวปลอม
อาจจะท�าให้เกิดวิกฤตทางสังคมได้นั้น จ�าเป็นต้องพิจารณาใน 2 มิติไปพร้อม ๆ กัน
(1) ด้านเนื้อหา การสร้างข่าวปลอมนั้นสามารถเล็งเห็นผลได้ว่าจะท�าให้เกิด
ปฏิกิริยาทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่สื่อ
สังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�าวัน การเข้าถึงและส่งต่อข้อมูลข่าวสาร
สามารถท�าได้อย่างง่ายดายภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาที ประกอบกับความเชื่อถือ
สื่อมวลชนดั้งเดิมนั้นลดลง และในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองนั้น เป็นช่วงเวลา
ที่ข่าวปลอมสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเช่นเดียว มีข้อมูลข่าวสารไหลเวียนในสังคมอย่าง
รวดเร็ว ทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่บิดเบือนไปพร้อม ๆ กัน และในสถานการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองนี้ ผู้คนมีแนวโน้มที่จะรับข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความเชื่อ
หรืออุดมการณ์ทางการเมืองของตนเอง ประกอบกับระบบอัลกอริธึ่ม algorithm)
ของสื่อสังคมออนไลน์เองที่มักประมวลผลเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน
ซึ่งเมื่อข่าวปลอมถูกสร้างและส่งต่อ ก็จะยิ่งตอกย�้าความขัดแย้งทางการเมือง ในบางกรณี
อาจน�าไปสู่เหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น
ในเชิงเนื้อหา ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวปลอมก็เป็นปัญหาที่ท�าให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง