Page 70 - kpiebook67020
P. 70
69
เพิ่มสูงขึ้น และกล่าวให้ถึงที่สุด ในท้ายที่สุดก็ต้องมีการก�ากับควบคุมเนื้อหาไม่ให้
มีการเผยแพร่ข่าวปลอมที่จะสร้างความเสียหายได้ ซึ่งน�าไปสู่อีกมิติหนึ่งที่ต้องมี
การพิจารณาถึงปัญหาของข่าวปลอม นั่นคือ การก�ากับควบคุมเนื้อหา
(2) การก�ากับควบคุมเนื้อหา กลไกลในการจัดการข่าวปลอมในประเทศไทยนั้น
ก็มีปัญหาที่ต้องพิจารณาอีกเช่นกัน เพราะในทางกฎหมายแล้วยังไม่มีนิยามที่ชัดเจนว่า
“ข่าวปลอม” มีความหมายและขอบเขตครอบคลุมมากน้อยเพียงใด กฎหมายหลัก
ที่ถูกน�ามาใช้ในการจัดการข่าวปลอมคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ในประเทศไทย ข่าวปลอมถูกท�าให้กลายเป็นเรื่อง
ความมั่นคง (securitization) และเรื่องการเมือง (politicization) ฉะนั้นเมื่อกลายเป็น
เรื่องความมั่นคงแล้ว วิธีคิดในการมองข่าวปลอมโดยฝ่ายความมั่นคงก็จะมองว่า
ข่าวปลอมเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อความมั่นคงแห่งชาติ และจ�าเป็นที่จะต้องใช้ทุก ๆ
วิธีการที่เป็นไปได้เพื่อรักษาความมั่นคง การใช้อ�านาจในนาม “ความมั่นคง” จึงกลายเป็น
ช่องว่างที่ท�าให้ข่าวปลอมอาจถูกใช้เป็น “อาวุธ” (weaponization) ในทางการเมือง
เพื่อจัดการผู้เห็นต่างและผู้ต่อต้านรัฐบาล ซึ่งก็อาจน�าไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยก
ได้เช่นเดียวกัน
ปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้เกิดปัญหา
การที่ไม่มีนิยามและขอบเขตที่ชัดเจนของค�าว่าข่าวปลอมในทางกฎหมาย
ท�าให้กลายเป็นช่องว่างที่ท�าให้การจัดการข่าวปลอมอาจกลายเป็นเครื่องมือทาง
การเมืองที่ถูกน�ามาใช้จัดการผู้เห็นต่าง ขอบเขตตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระท�าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ซึ่งการจะตีความ
ว่าข้อมูลใดที่เป็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน” หรือ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์