Page 64 - kpiebook67020
P. 64

63




           อย่างเดียว คือการรวมตัวของประชาชนเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
           การรวมตัวนั้นอาจจะกลายเป็นพื้นที่ส�าหรับการเรียนรู้ของประชาชน หากแต่ผลกระทบ

           เชิงลบมีมากกว่า ตั้งแต่ท�าให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เพราะเกิดขั้วความต่างระหว่าง
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมดังเห็นได้ชัดเจนในกรณีของเขื่อนปากมูล

           การพัฒนานั้นยังท�าให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปจนท�าให้เกิดความเหลื่อมล�้า
           ในการเข้าถึงทรัพยากรและเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อปัญหาเหล่านั้นได้เกิดขึ้น แน่นอนว่า

           ย่อมส่งผลให้รัฐต้องมีภาระทางงบประมาณและการจัดการกับปัญหาที่มีผลกระทบ
           เป็นเหมือนลูกโซ่ตามมาอีกด้วย นอกจากนี้ ในโลกที่มีการสื่อสารแบบโลกาภิวัตน์

           ปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชาวบ้านบางกลอยได้ท�าให้ประเทศไทยถูกสั่นคลอน
           ความน่าเชื่อถือ กลายเป็นประเทศที่ถูกมองว่าละเลยต่อสิทธิมนุษยชนในที่สุด


                  แนวทางเพื่อป้องกันแก้ไขที่สาเหตุหรือลดทอนความเสี่ยงอันอาจน�าไปสู่วิกฤต
           สังคมอันเกิดจากความอยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่


                  (1) สร้างพื้นที่ให้ผู้ได้รับผลกระทบร่วมตัดสินใจตั้งแต่ต้น การสร้างพื้นที่ให้

           ทุกภาคส่วนร่วมตัดสินใจตั้งแต่ต้น เป็นการเอื้อให้เกิดการร่วมกันก�าหนดแนวทางพัฒนา
           ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และยังช่วยท�าให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียม เพราะทุกภาคส่วน
           ที่อยู่ในพื้นที่การพัฒนาแต่ละแห่ง ต่างได้รับรู้แสดงความเห็นและสะท้อนมุมมองต่อ

           ทิศทางการพัฒนาออกมาแล้ว นอกจากนี้ การรับฟังและเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วม

           ตัดสินใจอาจน�าพาไปสู่การกระจายการพัฒนาที่เท่าเทียม

                  (2) แยกคู่ขัดแย้งและใช้คนกลางจัดการปัญหา เมื่อเกิดปัญหาที่ส่อเค้าจะน�าไปสู่

           วิกฤต หนทางหนึ่งที่จะป้องกันได้คือการแยกคู่ขัดแย้งออกจากกันแล้วใช้คนกลางเข้ามา
           ช่วยเจรจาเพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ การลดความเสี่ยงโดยมีคนกลางนี้แต่ละภาคส่วนที่
           เกี่ยวข้องอาจต้องลดข้อเรียกร้องของฝ่ายตนเองลงเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกัน
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69