Page 60 - kpiebook67020
P. 60

59




           ก็ต้องประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปซึ่งไม่มั่นคง และเมื่อไม่มีการจ้างงานก็ยังไม่สามารถ

           ท�าการเกษตรบนพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรร

                  (5) การพัฒนาและบริหารแบบเชิงรับ ท�าให้การได้มาซึ่งความยุติธรรมทาง

           สิ่งแวดล้อมต้องเรียกร้องจึงจะได้มา ยกตัวอย่างกรณีเขื่อนปากมูล ช่วงหลังการก่อสร้าง
           เขื่อน นโยบายและความไม่ต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ

           หลังปี 2539 เป็นต้นมา ท�าให้การชุมนุมเกิดขึ้นหลายครั้งทั้งที่หน้าท�าเนียบรัฐบาล
           สันเขื่อนปากมูล ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ในการชุมนุมเกือบทุกครั้ง รัฐบาล

           รับปากว่าจะแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้อง แต่เมื่อผู้ชุมนุมกลับไปทุกอย่างก็เหมือนเดิม
           แล้วต้องกลับมาชุมนุมอีกเพื่อทวงสัญญาจากรัฐบาลชุดต่าง ๆ




                  ผลกระทบของปัญหา

                  (1) การรวมตัวของภาคประชาชน เมื่อประชาชนได้รับผลกระทบต่อการด�ารงชีวิต

           ของเขา เป็นการกดดันอย่างหนึ่งท�าให้ภาคประชาชนต้องแสดงออกเพื่อเรียกร้องสิทธิ
           ในหลายรูปแบบ เช่น การประท้วง หรือการยื่นหนังสือร้องเรียน ดังกรณีการต่อสู้
           ของชาวบ้านปากมูลตั้งแต่ก่อนสร้างไปจนช่วงหลังก่อสร้างเขื่อนท�าให้เกิดการต่อสู้

           ของประชาชนในนาม “สมัชชาคนจน” ซึ่งกลายเป็นที่รวมเครือข่ายชาวบ้านยากจน

           ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาอื่น ๆ ของรัฐ ในเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ
           เขื่อน ป่าไม้ ที่ดิน นโยบาย กฎหมาย โครงการพัฒนาของรัฐ เป็นต้น


                  (2) ความขัดแย้งของคนในสังคม ความอยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมน�าไปสู่
           ความขัดแย้งของคนในสังคมทั้งในเชิงพื้นที่และในเชิงระดับประเทศ ยกตัวอย่างกรณี

           เขื่อนปากมูล รัฐมีนโยบายการสร้างเขื่อนด้วยเหตุผลเพื่อการไฟฟ้าและชลประทาน
           ผู้รับผิดชอบโครงการใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมชน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65