Page 76 - kpiebook67020
P. 76
75
ข่าวสารที่มีปัญหาอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีกลไกการตรวจสอบและกลั่นกรอง
อย่างมืออาชีพ แต่การไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณ
และความเร็ว ท�าให้สื่อมวลชนที่สะเพร่า (Sloppy journalist) มีโอกาส
ที่จะน�าเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหาเผยแพร่สู่สาธารณะออกไปได้
ขณะเดียวกัน วิธีการน�าเสนอข้อมูลข่าวสารที่ใช้ “ภาพข่าว” มากกว่า
การใช้ถ้อยความ หรือควรเป็นถ้อยความที่สั้นกระชับและได้ใจความ
ท�าให้ต้องตัดทอนรายละเอียดลงด้วยการถอดใจความส�าคัญหรือ
จับประเด็น ซึ่งมีโอกาสที่จะท�าให้เกิดความคลาดเคลื่อนและไม่เห็นบริบท
ของเนื้อหาข่าว อีกทั้งการพาดหัวข่าว (Headline) ที่หวือหวาหรือเร้าใจ
เพื่อให้เกิดการคลิกชม (Clickbait) ทั้งที่เนื้อหาข่าวอาจจะไม่มีอะไร
ที่เป็นสาระส�าคัญหรือไม่เป็นไปตามการพาดหัวข่าวนั้น หากผู้รับสาร
ไม่มีความระแวดระวังและไม่ได้อ่านรายละเอียดเนื้อหาข่าวเพิ่มเติม
อาจจะน�าไปสู่การรับข้อมูลข่าวสารที่สร้างความสับสนได้เช่นกัน
(2) สาร (Message)
• ค�าอธิบายเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยภาษาทางการแพทย์
ข้อมูลข่าวสารที่อธิบายเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 เหล่านี้ เช่น
ลักษณะอาการ การแพร่เชื้อและการรับเชื้อ การป้องกันการแพร่เชื้อ
และการติดเชื้อ ล้วนเป็นเรื่องในทางระบาดวิทยาที่ใช้ค�าศัพท์เฉพาะหรือ
ภาษาทางการแพทย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คนทุกกลุ่มหรือทุกระดับชั้นในสังคม
จะสามารถเข้าใจได้โดยง่าย หรืออาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการท�า
ความเข้าใจ ขณะเดียวกันข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ที่เป็นภาษาไทยหรือเผยแพร่โดยคนไทยอาจจะยังมีอยู่อย่างจ�ากัด