Page 81 - kpiebook67020
P. 81
80 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ซึ่งท�าหน้าที่ส�าคัญในการเป็นผู้ส่งสารในนาม ศบค. หรือรัฐบาล นอกเหนือ
ไปจากวิธีการปกติหรือการแถลงข่าวเพื่อรายงานสถานการณ์ประจ�าวัน
ของทีมโฆษก ศบค. โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการสื่อสารที่มี
ความสอดรับกับพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารของคนในสังคมปัจจุบัน
• การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและด�าเนินควบคู่กันไปทั้งรูปแบบ
Online และ Offline จะเห็นได้ว่า รัฐบาลหรือ ศบค. ได้การสื่อสารควบคู่
กันไปทั้งในรูปแบบ Online และ Offline เพื่อให้ครอบคลุมและเข้าถึง
ประชาชนกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและกลุ่มที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต หรือสอดรับ
กับพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมกับประชาชนผู้รับสาร
แต่ละคน
• การตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัญหาและการบังคับใช้กฎหมาย
ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยภาครัฐได้มีการ
จัดตั้ง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center
Thailand) รัฐบาลจึงได้ใช้กลไกดังกล่าวในการตรวจสอบและกลั่นกรอง
และชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สังคม ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯได้ผลิตเนื้อหา
จ�านวนมากโดยหยิบยกจากข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ส่งต่อจริง และ
ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอย่างไร และอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่
น่าเชื่อถือเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อเท็จจริงดังกล่าว ขณะเดียวกัน
เครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลในการจัดการกับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัญหา
จ�าพวกข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน คือ การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นั่นคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550 และในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การเผยแพร่
ข่าวปลอมยังมีความผิดตามข้อก�าหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง