Page 84 - kpiebook67020
P. 84

83




                  (3) การสร้างความตระหนักในการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อให้ประชาชนมี “ตัวคัดกรอง”

           (filter) ข้อมูลข่าวสาร ที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้าและส่งออกข้อมูล เพราะการรู้เท่าทันสื่อ
           (media literacy) จึงเป็นเรื่องส�าคัญในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเช่นนี้
           เพื่อรับมือกับข้อมูลจ�านวนมากที่เกินกว่าจะบอกได้ว่าข้อมูลใดดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด

           มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล

           ข่าวสาร สามารถเข้าใจและประเมินเนื้อหาของสื่อ ตลอดจนสามารถสื่อสารผ่านสื่อ
           ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้


                  สรุปผลและข้อเสนอแนะ

                  จากการน�าเสนอกรณีศึกษาทั้งหมดใน 4 ประเด็นคือ 1) ความเหลื่อมล�้า

           ในกระบวนการยุติธรรม 2) ความเหลื่อมล�้าในมิติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแข่งขัน
           ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม 3) ความเหลื่อมล�้าในมิติทรัพยากรธรรมชาติ 4) การสื่อสาร

           เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ทั้ง 4 มุมมองนี้ อาจจะสรุปผลการศึกษาในประเด็น
           สาระส�าคัญดังนี้



                  มิติการแก้ไขวิกฤตความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรม ผลการศึกษา

           พบว่า ความยุติธรรมทั้ง 3 กรณีนั้น ประกอบสร้างจากปัญหาความรุนแรงทางโครงสร้าง

           ในกระบวนการยุติธรรมที่เหลื่อมล�้า และขาดสมดุลที่เหมาะสมในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
           ด้วยเหตุนี้ เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาในมิตินี้ จึงเสนอว่า กรณียุติธรรมทางการเมือง
           จะต้องด�าเนินกระบวนการยุติธรรมบนหลักการที่สร้างสรรค์และพื้นฐานสิทธิและ

           เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน และเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมให้เกิดพื้นที่

           ความไว้วางใจ กรณียุติธรรมสามจังหวัดชายแดน จะต้องมีความจริงในคดีกรือแซะ –
           ตากใบ ลดอุตสาหกรรมความมั่นคงในพื้นที่ลง สร้างพื้นที่ความไว้วางใจด้วยนโยบาย
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89