Page 80 - kpiebook67020
P. 80
79
ฉะนั้น ในเมื่อผู้รับสารไม่อาจหลีกเลี่ยงข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหาที่แพร่กระจาย
ในสังคมได้ ทั้งข้อมูลเท็จ ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลที่แฝงเจตนาร้าย และข้อมูลที่สร้าง
ความสับสน การรับข้อมูลข่าวสารของผู้คนในสังคมจึงเป็นประเด็นส�าคัญว่า เพื่อรับมือ
กับปริมาณข้อมูลข่าวสารจ�านวนมากที่ยากเกินกว่าจะบอกได้ว่าข้อมูลใดดีหรือไม่ดี
ข้อมูลใดถูกหรือผิด และข้อมูลใดมีความน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อ ผู้รับสารจะสามารถ
คัดกรองและพิจารณาความน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมา
เพื่อขีดเส้นแบ่งระหว่างความเท็จและความจริงได้หรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ของสถานการณ์การแพร่ระบาด
โรคติดเชื้อ COVID-19 การใช้ชีวิตเพื่อรับมือภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้จึงเป็นเรื่องยากยิ่ง
ฉะนั้น สิ่งที่ส�าคัญประการหนึ่งในห้วงเวลานี้คือ ข้อมูลข่าวสารที่สามารถสร้างความรู้
ความเข้าใจในการปฏิบัติตนในชีวิตประจ�าวันให้ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการให้
ความร่วมมือและความไว้วางใจในรัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของ COVID-19
แนวทางการแก้ไขปัญหาการสื่อสารในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19)
(1) บทบาทของภาครัฐ
• การจัดตั้งกลไกเฉพาะเพื่อท�าให้การสื่อสารเกิดความเป็นเอกภาพและชี้แจง
ข้อเท็จจริงแก่สังคม โดยการสร้างกลไกใหม่ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการด้าน
การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต
และศูนย์บริหารสื่อสารในภาวะวิกฤต เพื่อท�าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์สื่อสาร
ของ ศบค. ในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน