Page 44 - kpiebook67020
P. 44
43
หรือผู้เสียหายอาจหมดก�าลังใจในการต่อสู้ ท�าให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจอาศัยช่องโหว่ของ
กฎหมายแข่งขันทางการค้าในการไปจ�ากัดหรือลดการแข่งขันและกระท�าการควบรวม
ธุรกิจหรือท�าให้เกิดการผูกขาดจนส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ขณะเดียวกัน
การพิจารณาคดีอาญา ศาลต้องค�านึงถึงพยานหลักฐานให้สิ้นข้อสงสัยก่อนพิพากษา
ลงโทษผู้กระท�าความผิด ซึ่งการพิจารณาคดีต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน จึงไม่สามารถ
ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะในกรณีที่มีการควบรวมธุรกิจ (merger and
acquisition) ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้างได้
วิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบ และความเสี่ยงจากกรณีการส่งเสริมการแข่งขัน
ที่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
1) สาเหตุของปัญหาจากช่องว่างของกฎหมาย ได้แก่ (1) กฎหมายขาดเกณฑ์
หรือแนวปฏิบัติที่จ�าเป็นในการบังคับใช้ ส่งผลให้องค์กรบังคับใช้กฎหมายต้องใช้ดุลยพินิจ
ในการพิจารณามากขึ้น (2) การยกเว้นการพิจารณาให้กับรัฐวิสาหกิจที่ด�าเนินธุรกิจ
เกี่ยวกับสาธารณูปโภค (3) กฎหมายก�าหนดโทษไม่สูงพอที่จะท�าให้ผู้ประกอบธุรกิจ
เกรงกลัวกฎหมาย (4) การบังคับใช้กฎหมายขององค์กรก�ากับดูแลขาดประสิทธิภาพ
และสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ (1) ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และด้านการแข่งขันทางการค้า (2) ศาลอาจมี
ประสบการณ์ในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าไม่เพียงพอ เนื่องจาก
ยังไม่เคยมีการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าและมีการตัดสินด�าเนินคดี
กับผู้ละเมิดหรือผู้ถูกฟ้องร้องอย่างชัดเจน
2) สาเหตุเบื้องลึก ได้แก่ (1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยไม่สามารถ
ปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ (2) หน่วยงานที่ท�าหน้าที่