Page 41 - kpiebook67020
P. 41
40 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
นอกจากนี้ การขาดเกณฑ์ที่จ�าเป็นในการบังคับใช้กฎหมายอาจท�าให้เกิด
ปัญหาการใช้ดุลยพินิจที่ไม่เป็นกลางหรือโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง หากคณะกรรมการ
มีความสัมพันธ์กับผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกร้องเรียน ที่ส�าคัญคือ ในกรณีที่คณะกรรมการฯ
ใช้ดุลยพินิจในการตีความให้ผู้ประกอบธุรกิจที่กระท�าการละเมิดกฎหมายไม่มีความผิด
อาจส่งผลต่อผู้เสียหายที่ไปร้องเรียนต่อศาล รวมถึงผู้ออกมาเปิดเผยข้อมูลที่อาจถูก
ผู้ประกอบธุรกิจที่ละเมิดกฎหมายฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งจะเป็นการซ�้าเติม
และไม่สามารถที่จะปกป้องผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการใช้อ�านาจเหนือ
ตลาดได้ และมีผลให้การใช้ดุลยพินิจดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรคในการด�าเนินคดีกับ
ผู้ละเมิดกฎหมาย
3) การยกเว้นให้กับรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ได้ยกเว้นการพิจารณา
คดีให้แก่รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา พลังงาน น�้ามัน
ซึ่งการยกเว้นกรณีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของธุรกิจด้านสาธารณูปโภค
และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากการผูกขาดระบบสาธารณูปโภค เป็นต้นทาง
ของธุรกิจอื่น ๆ ทั้งที่ในทางปฏิบัติควรน�ามารวมอยู่ในการพิจารณาปัญหาอ�านาจ
เหนือตลาด การผูกขาดหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมดังเช่นกรณีทั่วไป
4) การก�าหนดหลักเกณฑ์ผู้ประกอบธุรกิจที่มีอ�านาจเหนือตลาดไม่สอดคล้อง
กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน
การก�าหนดให้ผู้มีความผิดต้องมีอ�านาจเหนือตลาดร้อยละ 50 ขึ้นไปท�าให้
การบัญญัติเกณฑ์ผู้มีอ�านาจเหนือตลาดในกฎหมายอาจไม่สอดคล้องกับสภาพของ
ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากสภาพการแข่งขันในประเทศไทยเป็น
การแข่งขันในตลาดขนาดเล็ก จากข้อก�าหนดของพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า