Page 45 - kpiebook67020
P. 45

44  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ก�ากับดูแลเพิ่งเริ่มก่อตั้งได้ไม่นาน รวมถึงปัญหาความเป็นอิสระคณะกรรมการแข่งขัน

        ทางการค้าและความเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมาย (3) ปัญหาความเหลื่อมล�้า
        ในการเข้าใจกฎหมายแข่งขันทางการค้า รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างธุรกิจ
        ขนาดใหญ่และผู้ประกอบการขนาดเล็ก (4) ประเทศไทยยังไม่มีการประเมินผลกระทบ

        ทางกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment) อย่างจริงจัง (5) โครงสร้างทาง

        เศรษฐกิจไทยมีลักษณะที่เชื่อมโยงกันเป็นธุรกิจการเมือง (politically connected)
        (6) โครงสร้างของกฎหมายที่เขียนไว้ไม่ครอบคลุมและการก�าหนดเกณฑ์ด้านการแข่งขัน
        ทางการค้าไม่ชัดเจนและเพียงพอในการน�าไปบังคับใช้ในทางปฏิบัติ


               3) ผลกระทบ ได้แก่ (1) ผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่มีโอกาสในการแข่งขัน

        มากกว่าผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก เกิดภาวะที่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่มีอ�านาจ
        เหนือตลาด (2) ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ

        และหลุดออกจากการแข่งขัน (3) ราคาสินค้าและบริการถูกก�าหนดโดยผู้ประกอบธุรกิจ
        ที่ผูกขาด ท�าให้อาจมีราคาสูงขึ้น (4) ทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของ

        ผู้บริโภคลดลง เพราะน�าไปสู่ตลาดผู้ขายน้อยราย (5) ความไม่พอใจจากผู้ที่ได้รับ
        ผลกระทบจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย และ

        ผู้บริโภค น�าไปสู่การฟ้องร้องและด�าเนินคดี (6) ท�าให้ธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจ
        ที่ผูกขาดในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าหรือบริการเดียวกัน จ�าเป็นต้องตกอยู่ใต้อ�านาจ

        ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับธุรกิจอื่นได้

               4) ความเสี่ยง ได้แก่ (1) การผูกขาด โดยเฉพาะในด้านสาธารณูปโภค

        ขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นต้นทางของการด�าเนินธุรกิจเกือบทุกประเภท (2) การปล่อยให้ธุรกิจ
        รายใหญ่แสวงหาประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมาย ท�าให้การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

        ทวีความรุนแรงขึ้น ประชาชน ผู้บริโภคมีทางเลือกลดลง และไม่มีอ�านาจต่อรอง
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50