Page 13 - kpiebook67020
P. 13
12 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ได้กลายเป็นช่องให้รัฐสามารถตีความและผูกขาด
ความถูกต้องได้ว่าอะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความเท็จ ตามมุมมองของแต่ละฝ่าย
ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไข คือ การออกกฎหมายก�ากับควบคุมข่าวปลอม
อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีอีกหลากหลายวิธีการที่สามารถป้องกันข่าวปลอมในสภาวะ
เปราะบาง อย่างเช่น สภาวะที่ประเทศก�าลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID 19 ) ได้แก่ การให้การศึกษาด้านการรู้เท่าทันสื่อ การตรวจสอบข้อเท็จจริง
การพัฒนาคุณภาพของสื่อมวลชน และการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความรับผิดชอบ
และการเสริมพลังบทบาทของภาคส่วนอื่น ๆ โดยความร่วมมือกันของภาคส่วนต่าง ๆ
ในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร (fact checking) และการก�ากับตนเองของแพลตฟอร์ม
(self-regulation) เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ต่างก็มีมาตรการของตนเองในการจัดการ
กับข้อมูลอันเป็นเท็จและบิดเบือนที่จะน�าไปสู่การสร้างความเสียหายในสังคม ไม่ว่า
จะเป็นการลบข้อมูลเท็จออกจากแพลตฟอร์ม (platform) การลดการมองเห็นบัญชี
ผู้ใช้งานที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จซ�้า ๆ การติดป้ายเตือนเพื่อให้ข้อมูลกับ
ผู้ใช้งานที่ก�าลังอ่านว่าเนื้อหานั้นมีปัญหา ถือว่าเป็นการควบคุมและก�ากับแพลตฟอร์ม
ของตนเอง (self-regulation) โดยไม่ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายของรัฐฝ่ายเดียว