Page 8 - kpiebook67020
P. 8
7
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาและท�าความเข้าใจสถานการณ์วิกฤตสังคม
ของประเทศ เพื่อน�าไปสู่การเสนอแนะแนวทางให้หลุดพ้นออกจากกับดักวิกฤตการณ์
ทางสังคมในทุกมิติ ด้วยการค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ความเสี่ยงในวิกฤตการณ์นั้น
มาตรการและแนวทางที่ควรน�ามาปรับใช้เพื่อให้เกิดการแก้ไขวิกฤตสังคมอย่างเป็นระบบ
โดยผลการศึกษาที่ส�าคัญพบว่า
ประเด็นที่ 1 เรื่องความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรม
สะท้อนผ่านสามกรณีคือ กรณีกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ (กรือเซะ-
ตากใบ) กรณีความอยุติธรรมทางการเมืองจากการด�าเนินคดีกับผู้ชุมนุมม็อบการเมือง
ในฐานะวิกฤตทางสังคม และกรณีช่องว่างของกระบวนการยุติธรรมในการสืบสวน
สอบสวนคดีอาญา
พบว่า กรณีของความยุติธรรมและความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
มีความเสี่ยงและปัจจัยเร่งปฏิกิริยาความรุนแรง คือ การท�างานของภาครัฐด้านกระบวนการ
ยุติธรรมที่ไม่อ�านวยความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างแท้จริง รวมถึงบริบททางสังคม
ที่ไม่มีความไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรม เช่น รอยแผลความทรงจ�าในประวัติศาสตร์
ภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่รัฐ และกฎหมายพิเศษในพื้นที่ที่ยังคง
ด�ารงอยู่โดยอ้างความมั่นคงของประเทศ ส�าหรับข้อเสนอแนะที่ส�าคัญคือ รัฐต้องทบทวน
การให้มีกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่และกระบวนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง
ให้สอดคล้องกับความจ�าเป็นที่เป็นอยู่จริงในพื้นที่เป็นส�าคัญ โดยให้คดีความมั่นคง
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่ภายใต้กฎหมายปกติ รัฐและเครือข่ายต้องสร้าง
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน