Page 4 - kpiebook67020
P. 4

3







                                         ค�ำน�ำ


















                  เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศ ณ ขณะนี้ ได้ประสบกับภาวะวิกฤตทางสังคม

           (Social Crisis) อันมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในหลายภาคส่วน เช่น ปัญหาจากสถานการณ์

           ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
           ที่ยืดเยื้อ ปัญหาวิกฤตการณ์ทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาวิกฤตความยุติธรรม รวมไปจนถึง
           วิกฤตการณ์ของสถานการณ์ความเหลื่อมล�้า ด้านมิติเศรษฐกิจ เช่น การสะท้อนปัญหา

           จากวิกฤตการณ์จนข้ามรุ่น และรวมไปจนกระทั่งถึงปัญหาที่ยังคงอยู่ตลอดคือวิกฤต

           ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
           ทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่จะน�าไปสู่ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural Violence)
           อันอาจจะน�าไปสู่วิกฤตทางสังคมในระยะยาว และถึงแม้จะมีความพยายามจาก

           ภาคฝ่ายต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้ไขและ

           คลี่คลายความขัดแย้งและความรุนแรงมักจะเน้นในเรื่องเฉพาะหน้าให้ปัญหาจบลง
           เฉพาะหน้าเท่านั้นโดยใช้วิธีการ เช่น การไกล่เกลี่ย การเจรจา การแก้ไขระยะสั้น
           เพื่อหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาที่หยั่งลึกที่รากเหง้า การเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิกฤตที่ยั่งยืน

           แท้จริงแล้วคือ การแปรเปลี่ยนที่รากเหง้าความขัดแย้งเพื่อลดความรุนแรง เช่น
   1   2   3   4   5   6   7   8   9