Page 9 - kpiebook67020
P. 9
8 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ผลการวิเคราะห์สรุปของกรณีความอยุติธรรมทางการเมืองจากการด�าเนินคดี
กับผู้ชุมนุมม็อบการเมืองในฐานะวิกฤตทางสังคม พบว่า การที่ผู้มีอ�านาจใช้กฎหมาย
และกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือหยุดยั้งความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม ก�าจัด
ผู้มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว ท�าให้กระบวนการ
ปกติกลายเป็นเรื่องไม่ปกติ ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาของวิกฤตสังคมในกรณีนี้ คือ ค�าวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ที่วินิจฉัยว่า การชุมนุมและปราศรัย
ของผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อปี 2563 เป็นการใช้สิทธิ
หรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ อาจจะกลายเป็น “เส้นตัด” ส�าคัญที่ท�าให้เกิด
ความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมมากขึ้น ส�าหรับข้อเสนอแนะคือ ฝ่ายผู้มีอ�านาจ
ต้องยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อก�าจัดผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง
และเปิดเวทีพูดคุยหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ เช่น การใช้กลไกรัฐสภาเป็นเวทีหาทางออก
ในการพูดคุยอย่างแท้จริง โดยยึดโยงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ผลจากการศึกษาเพื่อด�าเนินการปฏิรูประบบสอบสวนคดีอาญาของประเทศไทย
โดยมีข้อเสนอการปฏิรูปในเชิงโครงสร้างระบบสอบสวนคดีอาญา และปฏิรูปการบริหารงาน
ภายในองค์กรต�ารวจหรือการบริหารงานสอบสวนคดีอาญาเพื่อลดช่องว่างในการเลือก
ปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในคดีอาญา มีข้อเสนอแนะใน 3 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1
ปฏิรูปต�ารวจและงานสอบสวนคดีอาญา โดยให้อัยการมีอ�านาจเข้าไปตรวจสอบ
การสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวน ใน 3 กรณี คือ (1) คดีที่มีโทษอาญาตั้งแต่
5 ปีขึ้นไป (2) คดีที่มีผู้เสียชีวิต (3) คดีที่มีการร้องเรียน ทางเลือกที่ 2 ปฏิรูปโครงสร้าง
และงานสอบสวนทั้งระบบ โดยจัดตั้งองค์กรใหม่แยกออกจากส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ
(สตช.) เพื่อรับผิดชอบงานสอบสวนคดีอาญาเป็นการเฉพาะ และทางเลือกที่ 3 ปฏิรูปงาน
สอบสวน โดยปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในองค์กรต�ารวจ ควบคู่ไปกับการบูรณาการ