Page 12 - kpiebook67020
P. 12
11
จากทั้งสองกรณีสะท้อนให้เห็นถึงการท�างานด้านการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นการคิดจากส่วนกลาง ผนวกกับรัฐบริหารจัดการตามกฎหมาย
โดยขาดกระบวนการมีส่วนร่วม ท�าให้เกิดความรู้สึกไม่มีทางออก ดังนั้น ข้อเสนอแนะ
คือ ปรับปรุงกลไกความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมที่อยุติธรรม สร้างพื้นที่ความเป็น
เจ้าของร่วมกับประชาชน เปิดรับฟังความเห็นต่างและบริหารจัดการร่วมกัน
อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับความเข้มแข็งด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพราะหากภาคประชาชนมีความเข้มแข็งก็จะสามารถแสดงออกซึ่งสิทธิและมีส่วนร่วม
โดยภาครัฐให้การยอมรับและจับมือร่วมกันพัฒนาโดยค�านึงถึงฐานทรัพยากรทาง
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นส�าคัญ
ประเด็นที่ 4 การสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม
ประกอบด้วยกรณีศึกษาสองกรณีคือ กรณีการสื่อสารในช่วงที่มีความขัดแย้งทาง
การเมือง ซึ่งเลือกศึกษาเหตุการณ์การสลายการชุมนุมม็อบการเมืองคนรุ่นใหม่
ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และกรณีการสื่อสารในช่วงการแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โดยสาเหตุหลักของทั้งสองกรณีคือ การสร้างข่าวปลอม (fake news)
เพื่อสร้างความสับสนและสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน โดยการสื่อสาร
ในสภาวะที่มีความขัดแย้งทางการเมือง และการที่ไม่มีนิยามและขอบเขตที่ชัดเจนของ
ค�าว่าข่าวปลอมในทางกฎหมาย ท�าให้กลายเป็นช่องว่างในการจัดการข่าวปลอม และ
อาจกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ถูกน�ามาใช้จัดการผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง
ขอบเขตตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระท�าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ตีความว่าข้อมูลใดที่เป็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน” หรือ