Page 87 - kpiebook66032
P. 87

ซึ่งเป็นผลให้มีการออกนโยบายและโครงการเพื่อดูแลประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ

               กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงให้ได้ทั่วถึง ครอบคลุมและมีคุณภาพ

                     อย่างไรก็ตาม การเข้ามารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีถือเป็นบทบาทใหม่ เพราะเดิมที

               นายกฯ เป็นนักธุรกิจเหมืองแร่ส่งออกต่างประเทศและทำสวน และก่อนหน้านี้เคยมีตำแหน่ง
               เป็นรองนายกฯ ประมาณ 3 ปี (สมัย พ.ศ. 2552) ท่านนายกได้เล่าให้ทีมวิจัยฟังว่า



                           “ที่อยากเข้ามาทำงานท้องถิ่นเพราะต้องการทำพื้นที่ให้ดีขึ้น ความตั้งใจ      ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
                     แรกคือ การเข้าให้ถึงประชาชนในพื้นที่ เพื่อจะได้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการ

                                              71
                     ของประชาชนได้อย่างทั่วถึง”



                     ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่น พบว่าในสมาชิกสภาเทศบาล
               ทั้งหมด 24 คน โดย 20 คนมาจากทีมเดียวกัน ส่วนอีก 4 คน เป็นทีมของผู้บริหารชุดก่อน

               สมาชิกสภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีรวมทั้งหมด 24 คน เป็นชาย จำนวน 22 คน เป็นหญิง
               จำนวน 2 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2564)  72



               ส่วนที่ 2 จากภารกิจ X – Ray ชุมชน สู่ภารกิจปักหมุด-ปักใจ

                     จากจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีที่มีมากถึง  131,747 คน

               ในจำนวนนี้เป็นผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประมาณร้อยละ 14.77
                                                                                              73
               ด้วยเหตุนี้ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีจึงต้องดูแลเอาใจใส่กลุ่มคนเปราะบางเป็นกรณีพิเศษ

               และพยายามหาวิธีในการดูแลโอบอุ้มคนกลุ่มนี้

                     อาจถือเป็นความโชคดีของทางเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีก็ว่าได้ เพราะใน พ.ศ. 2562         ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               ตัวแทนเทศบาลได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานในทวีปยุโรปและเอเชีย โดยทุนรัฐบาลและทุนจาก
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงทำให้เห็นตัวอย่างที่ดีจากประเทศเอสโตเนีย ในการแสดงพิกัด
               ทางภูมิศาสตร์ (Global Positioning System หรือ GPS) ของสถานที่สำคัญ สถานที่จำเป็น




                   71   Personal communication, 2 พฤษภาคม 2566.
                   72   เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี, เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566, (ม.ป.ท.:
               ม.ป.พ., 2566).
                   73   สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี, ข้อมูลกลุ่มเปราะบางในเขตเทศบาลนครเมืองสุราษฎร์ธานี
               ประจำปี 2565, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2565).




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    1
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92