Page 82 - kpiebook66032
P. 82

สำหรับสถาบันการศึกษาก็ได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยได้ใช้ประโยชน์ศูนย์ซ่อมสร้างสุข

           ชุมชน ในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและอาจารย์ให้แก่วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
           เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเพาะ และฝึกให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันกับผู้พิการไปพร้อมกันด้วย
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   บทส่งท้าย    68
                       “ตรงนี้ชัดเลยว่า สิ่งที่เรากำลังทำ มันไม่ได้เกิดแค่ศูนย์ซ่อมสร้างสุขฯ

                 แต่มันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องมาต่อจิ๊กซอว์ มันไม่ได้เป็นคลื่นใหญ่ แต่เป็น
                 คลื่นที่หนาแน่นและขยับพร้อม ๆ กันไป”







                 ใน พ.ศ. 2562 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเป็นผู้เริ่มแสวงหาหุ้นส่วนในการพัฒนา

           คุณภาพชีวิตของคนพิการในจังหวัด และเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและบริหารจัดการ
           ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ รวม 14 ภาคี
           เครือข่าย เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณะด้านกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้มีประ

           สิทธิภาพและยั่งยืน โดยใช้ “ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนนำร่อง” เป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน

                 ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนนี้ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด

           สงขลา และให้บริการการซ่อมบำรุง การยืม-คืน และรับบริจาคกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ
           ให้กับผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหลังพ้นระยะวิกฤติและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสงขลา เพื่อให้
           ทุกกลุ่มมีสิทธิ์เข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่สำคัญคือ การที่ผู้พิการได้เข้ามา

           เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ก็ช่วยให้คนกลุ่มนี้ได้มีอาชีพ มีรายได้ สามารถ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   “ผู้รับบริการ” มาเป็น “ผู้ให้บริการ” นอกจากนี้ ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนยังเปิดโอกาสให้
           ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในสังคม และได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็น


           ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเติมเต็มระบบบริการสาธารณะ ในบทบาทการเป็นสถานประกอบการ
           ที่จ้างงานผู้พิการเหล่านั้น ให้ได้มาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ซ่อมสร้างสุขฯ ด้วย


                 การปรับเปลี่ยนรูปแบบระบบบริการจากเชิงรับเป็นเชิงรุก ขับเคลื่อนกลไกผ่านการบูรณาการ
           เครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม และการทำงานโดยการเชื่อมระบบฐานข้อมูลกลาง

           เพื่อนำไปสู่การจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้กับกลุ่มเหล่านี้ มีผลให้ความเหลื่อมล้ำ
           ทางสังคมลดลง เกิดสังคมแห่งการเอื้ออาทร เป็นการเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเปราะบาง ได้รับบริการ
           สาธารณะของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และทำให้จังหวัดสงขลาได้เป็น

           “เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Inclusive city) อย่างแท้จริง


               68   Personal communication, 10 มกราคม 2566.


               สถาบันพระปกเกล้า
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87