Page 81 - kpiebook66032
P. 81
เพื่อป้องกันการดำเนินงานทับซ้อนในเรื่องอำนาจการบริหารงานและการใช้
งบประมาณ การพูดคุยกับท้องถิ่นอื่น ๆ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเกิดขึ้น ช่วยให้
มองเห็นภาพใหญ่ร่วมกัน เกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งจังหวัดและลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน
4) การขยายเครือข่ายเพื่อให้ผู้พิการเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจ และนำไปเป็นนโยบาย
ในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (2566) ได้มีศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ตั้งกระจาย
ใน 4 จุดของเมือง ทำให้ผู้พิการเข้าถึงกายอุปกรณ์ เข้าถึงการซ่อม ไม่ต้องไปซ่อมที่ร้านรถหรือ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ร้านจักรยาน
การขยายศูนย์ซ่อมฯ กระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ นอกจากผู้รับบริการสามารถเข้าถึง
ได้อย่างทั่วถึงแล้ว ยังถือเป็นการตอบโจทย์ภารกิจของท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเป็น
ความต้องการที่สามารถตอบสนองต่อกันและกันได้
“ปีล่าสุด 2565 เราเปิดศูนย์ซ่อมสร้างสุขฯ ที่เทศบาลเมืองสะเดา ซึ่ง
ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทเยอะ ถ้าผู้นำท้องถิ่นเอาด้วย มันสามารถทำให้เกิด
การขยับได้ดีขึ้น พอท้องถิ่นเห็นว่าเราทำแบบนี้ มันดีต่อเขาด้วย เป็นการหาเสียง
ทางอ้อม Win Win ทั้งคู่ เราแค่ตั้งต้นให้เขา แต่พอเขาตั้งตัวได้ เขาก็จะเดินไปของ
เขาเอง” 67
5) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ผ่านทาง
การบริจาคสิ่งของ ซึ่งไม่ใช่แค่กายอุปกรณ์ มีทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถนำไปให้ผู้พิการหรือ ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่
ในขณะที่วัดคอหงส์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ก็ได้มีส่วนร่วมบริจาค
พัดลมที่ได้จากงานศพ ทางศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนก็ได้เป็นคนกลางในการส่งต่อ-บริจาคต่อ ๆ
กันไป นอกจากนี้ ทางวัดยังได้สนับสนุนอาหารกลางวันแก่เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ที่เป็นผู้พิการ
เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ส่วนผู้พิการก็ได้ตอบแทนด้วยการช่วยซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด
ให้แก่วัด
67 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า