Page 84 - kpiebook66032
P. 84
ประโยชน์สำหรับประชากรที่เป็นกลุ่มเปราะบางเหล่านั้น จึงทำให้เทศบาลได้รับรางวัลความโปร่งใส
และการมีส่วนร่วมของประชาชนมาในที่สุด และนำมาสู่การถอดบทเรียนนวัตกรรมนี้
จากการใช้เวลาเพื่อศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล และลงพื้นที่เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) เพื่อจะได้กลุ่มเปราะบางเหล่านั้น ได้เห็นความเข้มแข็งของแกนนำชุมชน เครือข่ายที่ร่วมกัน
ทีมวิจัยได้เห็นความสำเร็จในหลายด้าน ไม่ว่าจะการดำเนินงานเพื่อวางระบบฐานข้อมูล
ทุ่มเทพลังแรงใจ รวมถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารและทีมทำงานของเทศบาล ทีมวิจัยจึงมั่นใจว่า
หากนวัตกรรมที่ได้ถอดบทเรียนนี้ สามารถนำไปสู่การขยายผลในท้องถิ่นอื่น ๆ ได้ กลุ่มเปราะบาง
ที่ยังรอความช่วยเหลือก็น่าจะได้รับการดูแลดังในกรณีของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
เช่นเดียวกัน
ส่วนที่ 1 จุดเริ่มต้นของภารกิจ “ปักหมุด ปักใจ”
ทำความรู้จักนครสุราษฎร์ธานี
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมือง
ศูนย์กลางธุรกิจของจังหวัด และเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 8 ของประเทศ เป็นเมืองเศรษฐกิจ
สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ ต่อมา ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 เมษายน
พ.ศ. 2550 เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป ที่นี่จัดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่
เพราะมีพื้นที่ถึง 68.97 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 131,747 คน จำนวนครัวเรือน
78,056 ครัวเรือน เป็นประชากรชาย 62,459 คน ประชากรหญิง 69,288 คน (ข้อมูล
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น ณ พ.ศ.2565)
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านภายในเขตเทศบาล
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางชนะ ตำบลคลองฉนากและตำบลท่าทองใหม่ ทิศใต้ ติดต่อกับ
ตำบลวัดประดู่ และตำบลขุนทะเล ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ
เขาท่าเพชร และอำเภอกาญจนดิษฐ์ ทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลบางชนะ ตำบลบางใบไม้ และ
ตำบลวัดประดู่
สถาบันพระปกเกล้า