Page 89 - kpiebook66032
P. 89

และ 3) ระดับเครือข่าย: เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างเทศบาลฯ เครือข่ายภาครัฐ/

               ภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มอาสาสมัคร GIS และทีมบูรณาการ X – Ray ชุมชน อาทิ
               คณะกรรมการชุมชน แกนนำสุขภาพชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำฐาน

               ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้


               ส่วนที่ 3 กระบวนการเคลื่อนงาน : เขยิบกันไปทั้งองคาพยพ


               เมื่อหมุดหมายแรกได้ถูกกำหนดพิกัด                                                      ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

                     เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้แบ่งการดำเนินโครงการ One data for all ออกเป็น

               3 ระยะ ดังนี้

                     ระยะที่ 1 ใน พ.ศ.2562 – 2563 เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้มีการวางแผนออกแบบ

               นวัตกรรม โดยตั้งเป้าหมายให้คนพิการ ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเปราะบางต้องได้รับสวัสดิการ
               ที่เขาควรได้รับ โดยเริ่มจากการบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ ปักหมุดแสดงที่อยู่อาศัยของ
               กลุ่มเป้าหมาย ผ่านการ X-Ray ชุมชน ปูพรมเคาะประตูบ้าน ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มอาสาสมัคร

               ค้นหาประชาชนกลุ่มเปราะบางหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน โดย
               อาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่จะได้รับการอบรมความรู้ ความเข้าใจในการค้นหาบันทึกข้อมูลชุมชน


                     ดังคำบอกเล่าของนักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการทำให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำสิ่งดี ๆ
               ให้กับกลุ่มเปราะบาง



                           “จุดเริ่มต้นของเรามาจากโครงการ X-Ray ชุมชน เพราะเราอยากเก็บ
                     ข้อมูลกลุ่มเปราะบางไว้ในระบบ เพราะเราอยู่ในยุคดิจิทัล ตอนที่เริ่มคือ ปี 2562

                     ทำจากกลุ่มผู้พิการก่อน มีบริการทำบัตรประจำตัวคนพิการให้ที่บ้าน แต่เพราะ          ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น
                     ข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบ Excel ที่มีแต่ Text แต่ไม่ได้บอกพิกัดว่าสถานที่ตั้งบ้าน

                     เขาอยู่ที่ไหน ทำให้ได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลไว้ใน Google My Maps เมื่อเห็นว่าทำได้
                     สะดวกและง่ายต่อการส่งข้อมูลต่อให้กับพัฒนาสังคมจังหวัด เลยต่อยอดมาสู่
                     ข้อมูลการรับเบี้ยผู้พิการและเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมดที่สามารถทำได้”  75




                     ระยะที่ 2 ใน พ.ศ. 2563 – 2564 เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเผชิญกับปัญหาการระบาด
               ของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงชุมชนได้อย่างเต็มที่ จึงได้เพิ่มเติมการบันทึก


                   75   Personal communication, 21 มีนาคม 2566.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94