Page 91 - kpiebook66032
P. 91

2)  การนำนโยบายไปปฏิบัติ


                       ในขั้นนี้ ทีมงานบุคลากรจากทุกสำนัก/กอง สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกัน
               พัฒนายกระดับการปฏิบัติงานบริการสาธารณะโดยใช้ฐานข้อมูลเดียว (One data for all)

               จากวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างคนต่างทำ มาเป็นบูรณาการโดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกันทั้งหน่วยงาน

                       ในขั้นตอนการทำงานนี้ ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดระบบการดำเนินงานโดยมอง

               ในเชิงระบบ Systematic approach คือ Input Process Output Outcomes สรุปได้ดังนี้
               (ภาพที่ 28 แสดงถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานกิจกรรม One data for all เอาไว้)                ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

                       1.  ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ กลุ่มต่าง ๆ ที่มีทั้งกลุ่มเป้าหมาย ผู้ปฏิบัติงาน

               รวมถึงเครือข่ายที่เข้ามาร่วมในการบันทึกพิกัดและจัดทำฐานข้อมูลกลางของกลุ่มเปราะบาง
               ประกอบด้วย 1) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ด้อยโอกาส ครอบครัวยากจน ผู้ถูกกระทำความรุนแรง

               ในครอบครัว คนไร้ที่พึ่ง และผู้สูงอายุ 2) Volunteer Network หรืออาสาสมัคร GIS (แกนนำ
               กลุ่มสตรี) อสม. คณะกรรมการชุมชน และชมรมผู้สูงอายุ 3) เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคม:
               เป็นผู้รับเรื่องที่มีคนมาขอรับจัดสวัสดิการ บันทึกพิกัด และจัดทำฐานข้อมูลกลางสำหรับใช้

               จัดสวัสดิการชุมชน โดยอาจมีการประสานไปยังบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อเข้ามาร่วมระบุ
               พิกัดเพิ่มเติมของผู้สูงอายุและคนพิการ


                       2.  กระบวนการ (Process) คือ ขั้นตอนที่ดำเนินงานเพื่อดูแลกลุ่มเปราะบาง
               เหล่านั้น โดยอาจแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม คนพิการ ผู้สูงอายุ

               ครอบครัวยากจน และผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ในภาพรวมเริ่มจากกองสวัสดิการ
               สังคมประสานทีมบูรณาการ จากนั้นลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ประเมินสถานะกลุ่มเหล่านั้น
               ทำบัตรประจำตัว ขึ้นทะเบียน และรับการช่วยเหลือต่อไป


                       3.  ผลผลิต (Output) คือ สิ่งที่กลุ่มเปราะบางเหล่านั้นจะได้รับ ดังกรณีของผู้พิการ  ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น
               จะได้บัตรประจำตัวคนพิการ มีชื่ออยู่ในทะเบียนรับเบี้ยความพิการ รับเงินช่วยเหลือ ได้แก่

               เบี้ยความพิการ เงินสงเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ รับถุงยังชีพ รับกายอุปกรณ์ ปรับสภาพ
               ที่อยู่อาศัย รับบริการสาธารณสุข (Long Term care: LTC) (กรณีเป็นผู้สูงอายุ) และรับผ้าอ้อม

               สำหรับผู้ใหญ่ โดยแต่ละกลุ่มก็จะได้รับสิทธิและสิ่งของแตกต่างกันไป

                       4.  ผลลัพธ์ (Outcome) คือ การที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสิทธิสวัสดิการตามกฎหมาย
               มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำหรือปัญหาการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการตามกฎหมาย









                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96