Page 93 - kpiebook66032
P. 93
การต่ออายุบัตรผู้พิการถึงบ้าน การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุถึงบ้าน และควรให้มีการตรวจสุขภาพ
ผู้พิการและผู้สูงอายุถึงบ้านโดยประยุกต์จากฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่
กลไกของเทศบาลที่เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้สร้างกลไกเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมในกิจกรรม
ต่าง ๆ ของโครงการอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับในการ
ดำเนินโครงการ ดังนี้
1) การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดความรู้ โครงการ
ดังกล่าว ไปยังพื้นที่สื่อสาธารณะต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการรับทราบและเข้าถึง
ข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยการการจัดทำ และเผยแพร่คู่มือการดำเนินโครงการบันทึกพิกัด
แผนที่ทางภูมิศาสตร์ ผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการ กิจกรรม X-Ray ชุมชนเคาะประตู
เยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุ โดยนายกเทศมนตรีฯ เกี่ยวกับ
โครงการ One data for all เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565
2) การมีส่วนร่วมในระดับหารือ
ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการหารือ เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็น
เพื่อประกอบการดำเนินโครงการ มีการประชุมกลุ่มแกนนำสตรี เพื่อร่วมกันวางแผนและ
ออกแบบกิจกรรมในการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัคร GIS ทำการค้นหา
กลุ่มคนเปราะบางร่วมกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี แล้วนำมาบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS)
3) การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท
ในขั้นตอนนี้ ประชาชนได้มีส่วนร่วมเข้าร่วมรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สำหรับ ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
อาสาสมัครประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน แกนนำสตรี อสม. เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคม เพื่อให้
มีความรู้ความเข้าใจและทำการค้นหา เพื่อบันทึกข้อมูลกลุ่มเปราะบางในรูปแบบพิกัดทาง
ภูมิศาสตร์ (GPS) ในชุมชน และฝึกปฏิบัติ ขั้นตอน วิธีการการบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS)
ของกลุ่มเปราะบางในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
สถาบันพระปกเกล้า