Page 83 - kpiebook66032
P. 83
ฐานข้อมูล “One Data for All”
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชนิษฎา ชูสุข, สมพร คุณวิชิต และ
จิตราวดี ฐิตินันทกร 69
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
เกริ่นนำ
หากใครได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยือนเมืองสุราษฎร์ธานี สิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างเด่น
ชัด คือ การเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ และชุมชนมีการขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว อันทำให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของประชากรที่ย้ายเข้ามานั้น มีทั้งผู้ที่มาประกอบอาชีพ มาศึกษาต่อและอื่น ๆ
แต่ในส่วนนี้ก็มีกลุ่มเปราะบางระดับพื้นที่รวมอยู่ และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน สิ่งที่ทุก
เมืองต้องเผชิญในขณะนี้ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเด็ก
ผู้พิการ ผู้สูงอายุ รวมไปถึงผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ขณะที่ในการพัฒนาเมืองแม้จะมี
หลากหลายแนวคิดที่ท้องถิ่นได้พยายามนำไปปรับใช้ แต่แนวคิดหนึ่งที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
ของทุกเมืองต้องตระหนัก นั่นคือ การสร้างเมืองสำหรับทุกคน (Inclusive city) นั่นก็หมายถึง
การทำเมืองที่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันแก่ผู้อยู่อาศัยทุกกลุ่มได้อย่างเสมอภาค และ
เคารพในศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ 70
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาประชาชนกลุ่มผู้เปราะบาง
ให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานเป็นไปอย่างเสมอภาค เท่าเทียม ทั่วถึง ทุกช่วงวัย โดยใช้ ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
องค์ความรู้และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลให้เกิดงานเชิงรุกตามกระบวนการ “ร่วมคิด ร่วมทำ
ทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน” ทำให้เป็นที่มาของ โครงการการจัดทำฐานข้อมูล “One data
for all” เพื่อการดูแลประชากรทุกกลุ่มในพื้นที่ โดยพัฒนากระบวนการจัดทำฐานข้อมูล ไปใช้
69 ผศ. ดร.ชนิษฎา ชูสุข อาจารย์ประจำคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นางสาวจิตราวดี ฐิตินันทกร คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
70 ชนิษฎา ชูสุข, เมืองและการจัดการปกครองเมือง, (สงขลา: พี.ซี.ปริ้นติ้ง, 2565), 181.
สถาบันพระปกเกล้า