Page 27 - kpiebook66032
P. 27
ในการสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและนำไปสู่การจัดทำแผนงาน
และโครงการ นอกจากนี้วิสัยทัศน์ยังสามารถมาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร
โดยการร่วมกันคิดและร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร
วิสัยทัศน์ที่ดีมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ 1) สามารถสื่อให้เห็นว่า
การดำเนินงานต้องการบรรลุผลสำเร็จจุดใด เป็นการบอกจุดหมายที่มุ่งมั่นตั้งใจจะไปให้ถึง
จุดที่จะไปให้ถึงหรือสภาพการณ์นั้นควรเป็นคำนามไม่ใช่คำกริยา เพราะถ้าเป็นคำกริยา
จะกลายเป็นแนวทางการดำเนินงาน 2) สามารถดำเนินการให้บรรลุผลได้ ดังนั้นการกำหนด ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
วิสัยทัศน์ควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 3) สามารถทำความเข้าใจและจำได้ง่าย
วิสัยทัศน์ควรสื่อความให้เข้าใจได้ง่ายและจำได้ง่ายโดยที่บุคลากรในองค์กรไม่จำเป็นต้องท่องจำ
โดยส่วนใหญ่วิสัยทัศน์จึงเป็นข้อความสั้น ๆ และมีความหมายชัดเจน 4) มีความล้ำหน้าและ
ท้าทาย วิสัยทัศน์ควรเป็นเรื่องที่ก้าวไปข้างหน้าและมีความท้าทาย ไม่ใช่เรื่องที่เห็นผลหรือ
เกิดขึ้นอยู่แล้วในปัจจุบัน และไม่ใช่เรื่องที่ดำเนินการเป็นประจำ 5) เป็นสัญญาที่มุ่งมั่น บุคลากร
ในองค์กรต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ตรงกันหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดขวัญกำลังใจในการ
มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ และ 6) มีความสร้างสรรค์ บุคลากรในองค์กร
ควรรู้สึกดีหรือรู้สึกเชิงบวกต่อวิสัยทัศน์ และ 7) สามารถชี้นำการพัฒนา วิสัยทัศน์ควรทำให้
บุคลากรในองค์กรเห็นภาพว่าจำเป็นต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์
ยกตัวอย่างวิสัยทัศน์ที่ดีเช่น “เป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2020” “สุขภาพดี
ถ้วนหน้าปี พ.ศ. 2543” “เป็นแหล่งผลิตอาหาร และการท่องเที่ยวชั้นนำในระดับอาเซียน”
และ “คุณภาพชีวิตดีทุกด้าน การศึกษาเป็นเลิศ” เป็นต้น
= U – Understanding: การทำความเข้าใจองค์กร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน และ ส่วนที่ 2 บริบทโลกยุควูก้า (VUCA World): ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขีดความสามารถของตนเอง ภายใต้สถานการณ์โลกในยุควูก้าหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เข้าใจองค์กรของตนเองอย่างลึกซึ้ง ย่อมเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ การทำความเข้าใจองค์กร
สามารถใช้วิธีการรับฟังความเห็นในวงกว้างจากบุคลากรในองค์กร ประชาชน และภาคีเครือข่าย
เพราะหากรับฟังความเห็นในวงแคบ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะพลาดโอกาสในการทำความเข้าใจ
องค์กรจากมุมมองที่ครอบคลุมครบถ้วนทุกกลุ่ม
ปัจจุบันเครื่องมือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นประจำในการทำความเข้าใจ
องค์กร คือ SWOT Analysis การวิเคราะห์ SWOT คือ การวิเคราะห์สถานะภายในและ
สภาวการณ์แวดล้อมภายนอก ซึ่งประกอบด้วยจุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness)
สถาบันพระปกเกล้า 21