Page 32 - kpiebook66032
P. 32
(3) การกำกับดูแลเครือข่าย: ความยากประการหนึ่งของการบริหารเครือข่าย คือ
การมีระบบการกำกับดูแล ซึ่งย่อมต้องแตกต่างจากระบบกำกับดูแลภายใต้ตัวแบบระบบ
ราชการ ขณะเดียวกันด้วยลักษณะเครือข่ายแต่ละกลุ่ม/องค์กรย่อมมีความอิสระของตนเอง
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) การพัฒนาบุคลากร ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์รวมทั้งพัฒนาทักษะใหม่ที่เหมาะสม
ดังนั้นความท้าทาย คือ การออกแบบระบบกำกับดูแลที่สามารถให้แต่ละองค์กรใช้ความอิสระ
ของตนให้เป็นประโยชน์แต่ขณะเดียวกันก็มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
(4) การพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถของบุคลากร: ประเด็นสุดท้าย คือ
กับการบริหารเครือข่าย อาทิ การเจรจาประนีประนอม และการเป็นนักประสานงาน
เป็นต้น
นอกจากนี้การเสริมสร้างเครือข่ายยังมีกลยุทธ์ ดังนี้
(1) เชิญองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมประชุมกัน โดยมีหัวข้อประชุมเกี่ยวกับ
ผลประโยชน์ร่วมหรือเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 2 บริบทโลกยุควูก้า (VUCA World): ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่าย ทิศทาง กิจกรรมหลักและคุณสมบัติ
ของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดด้วย ทั้งนี้ควรมี
การทบทวนเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับตามสภาพการณ์
(3) จัดตั้งกลุ่มแกนของเครือข่ายที่ปวารณาตัวเข้ามาทำหน้าที่ประสานงานควรมี
การหมุนเวียนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำเครือข่าย
(4) สร้างความรู้สึกมีส่วนเป็นเจ้าของและความผูกพันที่เหนียวแน่น อาทิ การสร้าง
กลไกการมีส่วนร่วม การร่วมเรียนรู้ และมีการสื่อสาร เป็นต้น
(5) ต้องมีวิธีการจัดหาและจัดการทรัพยากร เพื่อความมีประสิทธิภาพในการ
ขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่าย และความสามารถในการพึ่งตนเอง ทรัพยากรนี้หมายรวมทั้ง
เงินทุน คุณภาพสมาชิก วิธีการจัดการแบบมีส่วนร่วม เทคโนโลยี และข้อมูล แต่ต้องมีลักษณะ
เปิดกว้าง โปร่งใส
(6) พัฒนาความเป็นสถาบันของเครือข่าย อาทิ เครือข่ายมีสถานภาพทางกฎหมาย
มีสัญลักษณ์ร่วม เพื่อทำให้ได้รับการสนับสนุนที่กว้างขวางได้รับความวางใจจากสมาชิก
เครือข่าย
2 สถาบันพระปกเกล้า