Page 37 - kpiebook66032
P. 37

นอกจากนี้การมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชากรจำนวนมาก

               พึ่งพิงการดำรงชีพจากภาคการเกษตร ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจาก
               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังต้องเผชิญความท้าทายจากผลของการพัฒนาทาง

               เศรษฐกิจและกายภาพที่ก่อให้เกิดการทำลายสมดุลของสิ่งแวดล้อม พร้อมกับความต้องการใช้
               น้ำที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้าน
               สิ่งแวดล้อมที่จะทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ

               ภัยคุกคามจากภัยพิบัติทางธรรมชาติยังมีแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวี
               ความรุนแรงยิ่งขึ้น ในอนาคต อาจนำมาซึ่งความสูญเสียและผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม      ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมหาศาล เป็นความเสี่ยงของการบริหารจัดการที่ไทยยังมี
               ขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤติไม่เพียงพอ จึงจำเป็น
               ที่จะต้องแก้ไขด้วยการจัดการปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจาก

               ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยส่งเสริมการใช้มาตรการเชิงป้องกันก่อน
               เกิดภัยในพื้นที่สำคัญ อาทิ การบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยประกอบ

               การวางผังเมือง ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและ
               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การให้ความรู้และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อ
               เพิ่มศักยภาพประชาชนและชุมชนในการรับมือกับภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพ

               ภูมิอากาศ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ รวมถึงการส่งเสริม
               ความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางธรรมชาติร่วมกัน


                 2.  บริบทการพัฒนาประเทศด้านการบริหารจัดการภาครัฐ

                       การพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อส่งเสริมทุนทางสถาบันของประเทศไทย
               ในระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จึงอยู่ที่การยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของ

               การบริหารจัดการภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็น              ส่วนที่ 2 บริบทโลกยุควูก้า (VUCA World): ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               รูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ โดยเร่งปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการ

               ที่มีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม มีการเชื่อมโยงจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น
               ได้อย่างมีบูรณาการ และมีธรรมาภิบาล เพื่อรักษาเสถียรภาพทางสังคมและฟื้นฟูความเชื่อมั่น
               ในรัฐ เป็นการเสริมสร้างทุนทางสถาบันของประเทศ ซึ่งการปฏิรูปภาครัฐเป็นประเด็นท้าทาย

               ที่สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่คนในสังคมส่วนใหญ่มีความ
               ตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ภาครัฐจึงต้องเร่งพัฒนากลไกทางสถาบันที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง

               สู่ดิจิทัลและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการสาธารณะให้มีความสะดวกรวดเร็วและ
               มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ร่วมกับการใช้ข้อมูลและกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบาย






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    1
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42