Page 38 - kpiebook66032
P. 38
สาธารณะและการกำกับดูแลการดำเนินงานของรัฐให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดรับ
กับสภาวการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไปได้อย่างฉับไว เพื่อเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการ
รับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ โดยภาครัฐต้องทบทวนบทบาท
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัด เพื่อให้สามารถให้บริการสาธารณะ
และกระบวนการทำงาน เน้นการพัฒนาสมรรถนะให้ยืดหยุ่นคล่องตัว เชื่อมโยงและเปิดกว้าง
ควบคู่กับการพัฒนาข้อมูลและบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจ
ที่มีคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเท่าทันต่อ
ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนและทุกภาคส่วน ซึ่งต้องมีการปรับระบบ
การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ
ที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐแบบดิจิทัล รวมถึงยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย หมดความจำเป็น
พร้อมกับการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อให้
ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะ ทันสมัย คล่องตัว และตอบโจทย์ประชาชน สามารถเป็น
ปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศได้อย่างแท้จริง
ส่วนที่ 2 บริบทโลกยุควูก้า (VUCA World): ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ภารกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศ
จากบริบทการพัฒนาประเทศทั้ง 4 ด้านดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงสรุปภารกิจของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลา 5 ปี
นับจากนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ
ภารกิจเหล่านี้โดยคำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตนต่อไป
= ภารกิจด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
จากบริบทการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจทำให้สามารถสรุปภารกิจขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้ ดังนี้ 1) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน
ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อาทิ โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านดิจิทัลและโลจิสติกส์
การจัดการศึกษาที่ผลิตคนรุ่นใหม่ให้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงานและตอบสนอง
ความต้องการของภาคธุรกิจ (ผู้มีความรู้และทักษะในการออกแบบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และ
ผู้มีความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมการแพทย์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์)
และการจัดการศึกษาที่เพิ่มทักษะและคุณภาพแรงงานโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น
2) การส่งเสริมธุรกิจภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการเกษตรสีเขียวหรือการเกษตรปลอดสารพิษ
เพื่อนำไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และการส่งเสริม
การใช้เทคโนโลยีในการเกษตร 3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยเน้นคุณภาพ คุณค่า
และความยั่งยืน
2 สถาบันพระปกเกล้า