Page 39 - kpiebook66032
P. 39
= ภารกิจด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์
จากบริบทการพัฒนาประเทศด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ ความเหลื่อมล้ำ
ในสังคมยังคงเป็นปัญหาสำคัญ จึงสามารถสรุปภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ได้ ดังนี้ 1) การสำรวจข้อมูลความยากจนระดับครัวเรือน
และส่งต่อข้อมูลดังกล่าวเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลในระดับประเทศ 2) การจัดบริการสาธารณะ
ทุกประเภทโดยเฉพาะการสาธารณสุข การศึกษา การขนส่ง และที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพและ
เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ในสังคม 3) การส่งเสริมให้มีการจ้างงานคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส 4) ด้านการศึกษา
ประกอบด้วยหลายภารกิจ ได้แก่ 4.1) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนเพื่อ
ความเสมอภาค 4.2) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4.3) การเพิ่มคุณภาพการศึกษา
4.4) การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากร
ทางการศึกษา 4.5) การส่งเสริมทักษะด้านการอ่านและการศึกษาหาความรู้ 4.6) การจัดการ
ศึกษาที่ยกระดับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและทิศทาง
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีแนวโน้มความต้องการทักษะที่เกี่ยวข้องกับ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น อาทิ ความรู้ด้านดิจิทัล การจัดการข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์
และโค้ดดิ้ง (Coding) เป็นต้น รวมถึงทักษะที่เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้ อาทิ การคิด
เชิงวิพากษ์ การทำงานเป็นทีม และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น และ 5) การจัดสวัสดิการสังคม
ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบาง
= ภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากบริบทการพัฒนาประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละด้าน
หลายภารกิจอาจไม่ใช่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง แต่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นสามารถให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง ส่วนที่ 2 บริบทโลกยุควูก้า (VUCA World): ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมถึงภาคส่วนอื่น ๆ ในพื้นที่ ดังนั้นสามารถสรุปภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศด้านนี้ได้ ดังนี้ 1) ด้านทรัพยากรป่าไม้: การปลูกป่า
และการป้องกันไฟป่าที่เกิดจากมนุษย์ เป็นต้น 2) ด้านทรัพยากรน้ำ: การกักเก็บน้ำในหน้าแล้ง
และการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3) ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: การป้องกัน
การปล่อยของเสียลงสู่ทะเลที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ สิ่งปฏิกูล และขยะพลาสติก
และการป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ป่าชายเลน 4) ด้านการจัดการขยะ: การรณรงค์ให้มีการคัดแยก
ขยะตั้งแต่ต้นทาง 5) ด้านมลพิษทางอากาศ: การรณรงค์ไม่ให้มีการเผาขยะหรือวัสดุการเกษตร
ในที่โล่ง 6) ด้านสภาพภูมิอากาศ: การเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพภูมิอากาศ
สถาบันพระปกเกล้า