Page 31 - kpiebook66032
P. 31

เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างภาคีเครือข่าย เครือข่ายเกิดจาก

               การประสานเชื่อมโยงหรือการรวมตัวของกลุ่ม/องค์กรตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปโดยมีองค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรริเริ่มหรือองค์กรหลักในเครือข่าย สมาชิกเครือข่ายมีความสัมพันธ์ในเชิง

               แลกเปลี่ยนและประสานความร่วมมือกัน มีวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
               มีความเท่าเทียมกัน และมีอิสระในการดำเนินงานของตน ทั้งนี้การเสริมสร้างเครือข่ายในการ
               ดำเนินงานช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง

               รวดเร็วเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ประการแรก เครือข่ายช่วยกำจัดจุดอ่อนของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จุดอ่อนแรกคือ การขาดอำนาจในการจัดการปัญหาหรือพัฒนา           ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               พื้นที่อย่างบูรณาการ ถึงแม้ว่ามีการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้
               มากมายหลากหลาย แต่ในทางปฏิบัติหน้าที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ร่วมกัน
               หรือเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนั้นองค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่นในฐานะตัวแสดงหนึ่งจำเป็นต้องเชื่อมโยงหรือแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น
               จุดอ่อนที่สองคือ ข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง

               ยังคงมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินงาน ได้แก่ งบประมาณไม่เพียงพอ
               บุคลากรไม่เพียงพอ และบุคลากรขาดความรู้ทักษะ การแสวงหาความร่วมมือกับเครือข่าย
               ที่มีเป้าหมายในการดำเนินงานเดียวกันสามารถช่วยลดข้อจัดในเรื่องนี้ได้ และประการที่สอง

               เครือข่ายเป็นพลังในการพัฒนาบริการสาธารณะ เพราะช่วยให้การจัดบริการสาธารณะเข้าถึง
               ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่มและทั่วถึงมากขึ้น และอาจสร้างสรรค์นวัตกรรม

               ในการจัดบริการสาธารณะได้

                       แนวทางในการเสริมสร้างเครือข่ายมี ดังนี้


                       (1) การออกแบบเครือข่าย: การออกแบบเครือข่ายมีความสำคัญมากเพราะเป็น
               จุดตั้งต้นที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย การเลือกหุ้นส่วนที่เหมาะสม การจัด  ส่วนที่ 2 บริบทโลกยุควูก้า (VUCA World): ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               ประเภทและเลือกใช้งานเครือข่ายให้เหมาะสม รวมทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบการบูรณาการ
               เครือข่าย

                       (2) การบรูณาการเข้าด้วยกัน: หลังจากออกแบบแล้วเข้าสู่ช่วงการดำเนินการ

               ประเด็นที่สำคัญ คือ การบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน การสร้างช่องทางสื่อสาร รวมทั้ง
               การประสานกิจกรรมระหว่างผู้มีส่วนร่วมของเครือข่าย นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีการจัดการ
               ความสัมพันธ์ภายในเครือข่าย และการต้องคำนึงถึงการจัดการความแตกต่างทางด้านค่านิยม

               และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่ากลุ่ม/องค์กรในเครือข่าย







                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36