Page 282 - kpiebook66030
P. 282

สรุปการประชุมวิชาการ
     2 2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           ผลการวิจัย

             1. ระบอบการเมืองที่มีผลต่อการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่


                 1.1  ประเทศสหรัฐอเมริกา

                   ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศในระบอบประชาธิปไตย เป็นสหพันธ์
           สาธารณรัฐ มีนิติธรรมที่เข้มแข็ง และประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออก ความเชื่อทาง

           ศาสนา และเสรีภาพพลเมืองมากมาย แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถาบันประชาธิปไตย
           มีความอ่อนไหวจากการแบ่งขั้ว อคติทางการเมือง หรือระบบยุติธรรมทางอาญา (Freedom
           House, 2022) แต่สหรัฐฯ พิจารณาปัญหามลพิษเป็นปัญหาทางการเมือง เนื่องจากการเรียกร้อง
           จากประชาชน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง อุตสาหกรรมในสหรัฐฯพัฒนาอย่าง

           รวดเร็วอันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great
           Depression) ระหว่างปี 1929-1939 รัฐบาลได้ลงทุนในการสร้างทางหลวงสายแรกและ
           มีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านสมัยใหม่ทั่วประเทศ เกิดการใช้พลังงานภายในบ้าน
           ในอุตสาหกรรม และการใช้ยานพาหนะบนท้องถนนเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ

           เพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 1970เขตพื้นที่มหานคร เช่น เมืองโมบาย (Mobile)
           รัฐอลาบามา (Alabama) มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองมาก นิวยอร์ค และลอสแอนเจลิส
           ที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองหลวงแห่งหมอกควันของโลก” (Smog capital of the world)
           ในทศวรรษที่ 1960 มลพิษทางอากาศจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของชาวอเมริกัน

           ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจ และสร้างความกดดันทางการเมืองให้แก่รัฐบาลมากขึ้นอย่าง
           ต่อเนื่อง

                 1.2 สาธารณรัฐประชาชนจีน

                   สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐสังคมนิยมที่ปกครองโดยเผด็จการประชาธิปไตย

           ของประชาชน (People’s democratic dictatorship) (Constitution of the People’s
           Republic of China, 1982)  โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party:
           CCP) เป็นตัวแทนสูงสุดของประชาชน ควบคุมระบบราชการ สื่อมวลชน กลุ่มสังคมออนไลน์

           กลุ่มศาสนา มหาวิทยาลัย ธุรกิจ สมาคม และภาคประชาสังคม ภายใต้การปกครองโดยพรรค
           คอมมิวนิสต์ โครงสร้างทางการเมืองจีนไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
           และกำหนดทิศทางของนโยบาย (วรศักดิ์ มหัทธโนบล, 2564) ในทศวรรษที่ 1970 เติ้ง เสี่ยวผิง
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ ลงทุนสาธารณูปโภคโดยรัฐจำนวนมาก
           ดำเนิน “นโยบายสี่ทันสมัย” (Four Modernization) คือ การเกษตร การอุตสาหกรรม



           อาศัยกลไกตลาดมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการค้า การลงทุนจากต่างชาติ การเปิดพื้นที่ทาง
           เศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งตะวันออกและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเปิดประเทศในปี 1978
           (นรชาติ วัง, 2561) ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเติบโตมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนับแต่
   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287