Page 286 - kpiebook66030
P. 286
สรุปการประชุมวิชาการ
2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
2.5 มาตรการทางเศรษฐกิจ
ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐผ่านแนวทางการตลาด
(Market-based approaches) โดยใช้กลไกราคา เพื่อสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ และเปลี่ยน
พฤติกรรมในการลดมลพิษทางอากาศ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
(1) มาตรการทางด้านภาษี เช่น การกำหนดระบบภาษีสีเขียว (green tax) ภาษี
เชิงนิเวศ (ecological tax) และภาษีสิ่งแวดล้อม (environmental tax) เริ่มประกาศใช้ใน
ประเทศระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 1990 เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศโลก (Filho et al., 2019) มาตรการนี้ส่งผลให้โรงงานในสหรัฐฯ จำนวนมาก
ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่มีค่าแรงถูกกว่า และมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ที่เข้มงวดน้อยกว่า (Chien et al., 2021)
(2) ระบบการเก็บค่าธรรมเนียม (Emissions taxes) เช่น ค่าธรรมเนียม
การปล่อยมลพิษ ซึ่งสภาคองเกรสอนุมัติโครงการฝนกรด 1990 (1990 Acid Rain Program)
โดยใช้ระบบ cap-and-trade เป็นแห่งแรกของโลก ในการเก็บธรรมเนียมการปล่อย
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหรัฐฯ
(3) ระบบใบอนุญาตซื้อขาย (Tradable permit systems) คือ “การประมูล
สิทธิมลพิษ” โดยกำหนดปริมาณมลพิษที่อนุญาต แล้วจึงแบ่งออกเป็นหน่วยเพื่อนำไปประมูล
หรือขายให้แก่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้เอกชนสร้างอาคารสีเขียว (Green
building) การรณรงค์สร้างจิตสำนึกและกลยุทธ์การวางผังเมือง เพื่อผลักดันให้เกิดสภาพ
แวดล้อมสะอาดตามแผนการของรัฐบาล (Burch & Harris, 2021)
ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลจีนลงทุนในการเปลี่ยนการผลิตให้เป็นระบบไฟฟ้า
ที่สะอาด แต่เนื่องจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของจีนมากกว่าร้อยละ 60 และสร้างรายได้ร้อยละ
40 ของ GDP จีน มาจากรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น จีนจึงไม่มีมาตรการทางเศรษฐกิจในการชักจูงให้
1
เอกชน แต่ใช้วิธีในการสั่งปิดโรงงานและปิดเหมืองเพื่อลดกำลังการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์
ถ่านหิน เหล็ก และอลูมิเนียมให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ของการปล่อยมลพิษ (Kearns,
Dormido, & McDonald, 2018; World Bank, 2018)
2.6 การสร้างความสมัครใจ
บทความที่ผ่านการพิจารณา รัฐบาลสหรัฐอเมริกจึงใช้วิธการสร้างความสมัครใจ ผ่านการให้ข้อมูล การสาธิต และ
รัฐบาลในระอบประชาธิปไตยเคารพในสิทธิอันเท่าเทียมกัน และเสรีภาพของปัจเจกชน
การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเอกชน ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
(George W. Bush: 2001-2009) เสนอแรงจูงใจทางการเงินให้กับเอกชนที่ต้องการสร้าง
ในปี 2019 GPD จีน อยู่ที่ 15.98 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
1