Page 287 - kpiebook66030
P. 287
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะเชื่อว่าเป็นพลังงาน “สีเขียว” หรือพลังงานหมุนเวียน การเพิ่ม
สินเชื่อให้โรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตน้ำมันเบนซินสะอาด และประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงทุนกว่า
หนึ่งล้านล้านดอลลาร์สหรัฐใน รัฐบัญญัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการจ้างงาน
(Infrastructure Investment and Jobs Act 2021: IIJA) เพื่อสร้างงานและสร้างแรงจูงใจ
ในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเติบโต
อย่างยั่งยืนและเท่าเทียม (Mufson & Eilperin, 2021; Pramuk, 2021; The White House,
2021)
ในทางตรงกันข้าม การสร้างแรงจูงใจในประเทศจีนเป็นไปในเชิงบังคับและ
มีบทลงโทษที่รุนแรงให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เช่น การเลื่อนตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับผลงานด้าน
สิ่งแวดล้อม และผลการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีการลงโทษ เพื่อให้นโยบายประสบ
ความสำเร็จตามเป้าหมาย ดัวยเหตุนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศและเจ้าหน้าที่
ท้องถิ่นจึงใช้มาตรการเชิงรุกแม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมหาศาล
เช่น กรุงปักกิ่งตั้งเป้าหมายที่เข้มงวดมากกว่าเกณฑ์ระดับชาติ ในปี 2019 รัฐบาลได้ประกาศ
แผนการเปลี่ยนระบบทำความร้อนในครัวเรือน 1.2 ล้านหลังใน 11 เมืองจากถ่านหินให้เป็น
ก๊าซธรรมชาติ เจ้าหน้าที่จึงรีบดำเนินการรื้อถอนเตาถ่านหินออกจากครัวเรือนหลายหลัง
ระหว่างฤดูฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ทำให้หลายครัวเรือนต้องทนหนาวเพราะไม่มี
เครื่องทำความร้อน หรือนักเรียนในมณฑลเหอเป่ยต้องออกมาเรียนด้านนอก เนื่องจาก
อาคารเรียนไม่มีเครื่องทำความร้อน เหตุการณ์เหล่านี้กำลังละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชน อีกทั้งโรงงานจำนวนมากต้องย้ายออกจากกรุงปักกิ่งไปยังพื้นที่ชนบทที่มีการควบคุม
มลพิษต่ำกว่าและขาดการตรวจสอบ ทำให้มลพิษกระจายตัวไปยังพื้นที่อื่นๆ และลิดรอนสิทธิ
ในอากาศสะอาดของคนในชนบทมากขึ้น
2.7 ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ
แม้รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
อย่างแท้จริง แต่ระบอบนี้มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอยู่เสมอ ประชาชนสามารถกระตุ้น
การทำงานของรัฐบาลได้ เช่น ในปี 2009 กลุ่มสิ่งแวดล้อมและรัฐต่าง ๆ เรียกร้องให้รัฐบาล
กลางเพิ่มค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศแห่งชาติ (National Ambient Air Quality Standard)
สำหรับ PM2.5 ให้มากขึ้น แต่ศาลอุทธรณ์ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซีได้ตัดสินให้ยืนตาม
ค่ามาตรฐาน PM2.5 ในปี 2006 ไว้และให้ EPA พิจารณาค่ามาตรฐานใหม่ทุก ๆ ห้าปี
หากจำเป็น ดังนั้น ในปี 2012 EPA ได้สรุปค่ามาตรฐาน PM2.5 ใหม่โดยได้ลดลงจาก 15 µg/m
3
เป็น 12 µg/m ต่อปี แต่ยังคงค่ามาตรฐานของ PM2.5 และ PM10 รายวันเอาไว้ ซึ่งมีผล
3
บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2013 เป็นต้นไป (EPA, 2019) บทความที่ผ่านการพิจารณา
ระบบการเมืองของจีนแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ไม่เปิดโอกาสให้มีระบบตรวจสอบ
และถ่วงดุลอำนาจ แม้รัฐธรรมนูญจีนระบุไว้ว่าองค์กรทางการเมืองทั้ง 5 ของจีนได้แก่